การดูแลผู้บาดเจ็บและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : การทบทวนวรรณกรรม

Caring of the Trauma Survivors and their Families in the Unrest Area of 3 Southern Thai Provinces : A literature Review

Authors

  • วชิรญาณ์ วัฒนศิริวณิชช์
  • ประณีต ส่งวัฒนา
  • วิภา แซ่เซี้ย

Keywords:

การก่อความไม่สงบ, ภาคใต้, การดูแลผู้ป่วย, การพยาบาลผู้ป่วย, การวิเคราะห์วรรณกรรม, ผลกระทบ, สถานการณ์ความไม่สงบ

Abstract

          สถานการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของประชาชน โดยเฉพาะผู้บาดเจ็บและครอบครัว การดูแลผู้บาดเจ็บและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวอย่ามีมาตรฐาน จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพยาบาล การทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้ ผลกระทบของสถานการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบบดูแลผู้บาดเจ็บ และภารกิจหลักของพยาบาลในการดูแลผู้บาดเจ็บและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ดำเนินการสืบค้นงานงานวิจัยทั้งที่ตีพิมพ์เผยแพร่และไม่ได้ตีพิมพ์ โดยใช้การสืบค้นทางอิเล็กทรอนิกส์และสืบค้นด้วยมือจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เป็นแหล่งอ้างอิงมาตรฐานระหว่าปี พ.ศ. 2547-2554 และวอเคราะห์ 5 ขั้นตอนตามวิธีการทบทวนวรรณกรรมของไวท์มอและนาฟ (Whittemore & Knaft, 2005) ผลการศึกษาจากงานวิจัยจำนวน 1 เรื่อง เป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์จำนวน 13 เรื่อง และรายงานการวิจัยที่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน 2 เรื่อง พบว่ามีประเด็นสำคัญ 3 ประการคือ 1) ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบด้านจิตใจ โดยพบในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยเฉพาะพยาบาลมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครู ตำรวจ และผู้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งไม่ได้เป็นผู้ป่วย เช่น ผู้ดูแล ผู้ป่วยจิตเภท หญิงม่าย และผู้ที่สูญเสียบุคคลในครอบครัวจากสถานการณ์ความไม่สงบ ด้วยเหตุการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อด้านจิตใจในระยะยาว 2) ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ ประกอบด้วย ความรวดเร็วในการส่งต่อและจัดการผู้บาดเจ็บในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล การเยียวยาจิตใจ และการดูแลผู้บาดเจ็บระนะรักษาในโรงพยาบาล และการดูแลผู้บาดเจ็บเป็นทีมอย่างต่อเนื่องในระยะฟื้นฟู 3) ภากิจหลักของพยาบาลในการดูแล ประกอบด้วย การประเมินสภาพและความต้องการการดูแลของผู้บาดเจ็บและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไสงบ การปฏิบัติพยาบาลเพื่อการดูแลและเยียวยาทางจิตใจ การประสานงานและส่งต่อเพื่อการดูแลและฟื้นฟูสภาพผู้บาดเจ็บอย่างต่อเนื่องและครบวงจร ผลการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ ให้หลักฐานอันใช้เป็นข้อเสนอแนะในการวิจัยและการศึกษาต่อยอดเพื่อการพัฒนาและวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบที่มีรูปแบบเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น The unrest situation in the three southernmost provinces has several impacts both physical and psychological problems on trauma survivors and their families. Standard care for these trauma survivors is important for nurses. This study aimed to review the impact, caring system, and the main care giving tasks of nurses regarding to caring of thee trauma survivors and their families from the unrest area in three southernmost provinces of Thailand. The literatures related to trauma care, terrorism, survivors in three southernmost provinces were searched from the electronic database library of Prince Songkla University, from 2004 to 2011. Those literatures were analyzed using Whittemore and Knaft (2005) method of integrative review. All 15 studies including 13 published and 2 unpublished studies were identified.  Three important issues from the review were illustrated. First, the most common impact of the survivors from terrorism was psychological problems. Most of the studied focused on the impact among health care providers especially nurses, teachers, police officers, and other professions, respectively. The continued unrest situation has led the impacts and long term psychological problems. Second, the specific caring system for those with injuries comprised of well established pre-hospital care (fast and safety concern issue), effective healing and psychological support during hospitalization, and continuing in a team –base approach. Third, the main and specific nursing tasks were evaluation of the caring needs of the victims and their families, provision of psychological support, managing care by continuously coordinating and active participating in physical and psychological rehabilitation.  This review gave the evidences that could be used to facilitate nurses to seek strategies for further improving and establishing survivors from the unrest situation.

References

กันตพร ยอดไชย ปิ่นทิพย์ นาคดำ และ เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2550). ประสบการณ์การบาดเจ็บ ผลกระทบ และการจัดการการบาดเจ็บของผู้ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวจากเหตุระเบิดในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร, 25 (3), 211-223.

นิภาภรณ์ รามณรงค์. (2551). ความสามารถของพยาบาลในการช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นูรียะ มามะ. (2552). การนำหลักอิสลามมาใช้เมื่อเกิดความวิตกกังวลจากการทำหน้าที่ส่งต่อของพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นงนุช บุญยัง นันทิยา รัตนสกุล กฤตยา แดงสุวรรณ และชฎาพร ฟองสุวรรณ. (2550). ประสบการณ์ของพยาบาลในจังหวัดนราธิวาสในการส่งต่อภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการเขต, 12, 18 (2), 25-44.

บรรเจิด ทิพย์นุรักษ์. (2552). ภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่อยู่ในพื้นที่เหตุการณ์ปกติและที่อยู่ในพื้นที่เหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Cardozo, L. B., Vergara, A., Agani, F., & Gotway, A. C. (2000). Mental health, social functioning, and attitudes of Kosovar Albanians following the war in Kosovo. Journal of American Medical Association. 284, 569-577.

Delisi, E. L., Maurizio, A., Yost, M., Papparozzi, F. C., Fulchino, C., Katz, L. C., et al., (2003). A survey of New Yorkers after the September, 11, 2001, Terrorist attacks. The American Journal of Psychiatry. 160, 780-783.

Holtslag, H. R., Beeck, V. F., Lindeman, E., Leenen, L. P. H. (2007). Determinants of long-term functional consequences after major trauma. The Journal of Trauma Injury, Infection, and Critical Care. 62 (4), 919-927.

Whittemore, R. & Knaft, K. (2005). The integrative review: Updated methodology. Journal of Advanced Nursing. 52 (5), 546-553.

Wouter, J. V., Ewout, W. S., Marie-Louise, E., van Beeck, J. D., & Loek, L. (2005). Prevalence and determinants of disabilities and return to work after major trauma. The Journal of Trauma: Injury, Infection, and Critical Care. 58, 126-135.

Downloads

Published

2021-07-30