ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

Factors Predicting Health Promotion Behaviors of Persons with HIV/AIDS

Authors

  • วารินทร์ บินโฮเซ็น
  • ทีปภา แจ่มกระจ่าง

Keywords:

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, โรคเอดส์, ผู้ป่วย, การส่งเสริมสุขภาพ, HIV, AIDS

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่ทราบผงการติดเชื้อ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคม โดยใช้แบบจำลองพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ เพนเดอร์และคณะ (Pender, Murduagh, & Parsons, 2006) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาล 3 แห่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 280 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเอชไอวี/เอดส์ เก็บข้อมูลตั้งแต่ ตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้านพบว่าด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านโภชนาการ และด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับดี ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านการจัดการความเครียด และด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคม โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และพบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด (ร้อยละ 49) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการมีแรงสนับสนุนทางสังคมที่เพียงพอเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี  This descriptive study aimed to investigate actors predicting health promoting behaviors of persons with HIV/AIDS including gender, marital status, educational level, income, perceives HIV infection period, perceived self-efficacy, and social support. Pender’s Health Promoting Model (2006) was used as a conceptual framework. A stratified random sampling of 280 persons with HIV/AIDS was recruited from HIV/AIDS clinics of out-patient department among three hospital in Bangkok and surrounding area. Research instruments consisted of the Personal Data Record Form, the Perceives Self Efficacy Questionnaire, the social support Questionnaire, and the Health Promoting Behaviors Questionnaire. Data were collected during October to December, 2009. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze data. The findings showed that health promoting behaviors of persons persons with HIV/AIDS were at a moderate level. Regarding the 6 aspects of health promoting behaviors, health responsibility, nutrition, and spiritual growth were at a good level while physical activity, stress management and interpersonal relations aspect were at a moderate level. Perceived self-efficacy, and social support variables could jointly significant predicted in health promoting behaviors and accounted for 51% of variance (p< .001). Perceived self-efficacy was the strongest predictor (49%).  Results of the study ther emphasize the promoting of perceived self-efficacy, and provision of social support among persons with HIV/AIDS were essential to develop a good health promoting behavior.

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2547). แนวทางปฏิบัติงานโครงการการเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติสำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์. กรุเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2552). แนวทางการปฏิบัติงานโครงการพัฒนาระบบบริหารและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ พ.ศ.2549. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจเอสการพิมพ์.

จิรภา หงษ์ตระกูล. (2532). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ แรงสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เบญจมาภรณ์ ชุมแสง. (2553). พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประวีณา อนุกูลพิพฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรังสิต.

Chernoff, R. A. (2007). Treating an HIV/AIDS patient’s PTSD and medical nonadherence with cognitive-behavioral therapy: A principle-base approach. Cognitive and Behavioral Practice, 14 (2), 107-117.

Dudgeon, W. D., Phillips, K. D., Bopp, C. M., & Hand, G. A. (2004). Physiological and psychological effects of exercise intervention in HIV disease. AIDS Patient Care and STDs 18 (2), 81-98.

Greeson, J. M., Hurwitz, B. e., Labre, M. M., Schneiderman, N., Penedo, F., & Klimas, N. G. (2008). Psychological distress killer lymphocyte and disease severity in HIV/AIDS. Brain Behavior and Immunity 22, 901-911.

Herbst, H. J., Sherba, R. T., Crepaz, N., DeLuca, J. B., Zohrabyan, L., Stall, R. D., et al. (2005). A meta-analysis review of HIV behavioral interventions for reducing sexual risk behavior of men who have sex with men. Journal of Acquired Immune Deficiency Syndrome 39 (2), 228-241.

Langford, S. E., Ananworanich, J., & Cooper, D. A. (2008). Predictors of disease progression in HIV infection: A review. AIDS Research and Therapy4 (11), 1-14.

Downloads

Published

2021-07-30