ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

Stress and Coping Behaviors among Adolescent in the Observation and Protection Center

Authors

  • จิรกุล ครบสอน
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

ความเครียดในวัยรุ่น, จิตวิทยาวัยรุ่น, วัยรุ่น, สุขภาพจิต, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

Abstract

การวิจับแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเครียด พฤติกรรมการเผชิญความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายแบบโควตา เป็นวัยรุ่นอายุ 11-18 ปี ที่อยู่ในสถานพินิจและคุมครองเด็กและเยาวชน จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งหมด 110 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเครียดสวนปรุงและแบวัดพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของจาโลวิก มีค่าอัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .90 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย สถิติสัมพันธ์ของเพียร์สัน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นตัวอย่างมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 50.93 (S.D. = 13.07) และส่วนมากมีความเครียดอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 54.5) คะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเครียดโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 112.46 (S.D. = 14.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการจัดการกับปัญหาเท่ากบ 43.89 (S.D. = 6.47) ด้านการจัดการกับอารมณ์เท่ากับ 25.74 (S.D. = 5.08) และด้านการจัดการปัญหาทางอ้อมเท่ากับ 42.84 (S.D. = 6.12) ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.463, p < .001) และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกระกับปานกลางกับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดทั้งสามด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .241, p < .05, r = .562, p < .001และ r = .397, p < .001, ตามลำดับ) วัยรุ่นหญิงมีความเครียดสูงกว่าวัยรุ่นชาย (t = -2.269, p < .05) วัยรุ่นที่อยู่ในสถานพินิจ 90 วันหรือน้อยกว่า มีความเครียดมากกว่าวันรุ่นที่อยู่นานกว่า 90 วัน (t = 2.976, p < .01) และพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นที่มีการศึกษาระดับมัธยมต้นหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ดีกว่าวัยรุ่นที่มีการศึกษาระดับประถม (d = -9.217, p < .01) อย่างไรก็ดี อายุ ระยะเวลา และจำนวนครั้งที่อยู่ในสถานพินิจแตกต่างกันอย่างไรไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพวัยรุ่นที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรจัดกิจกรรมเพื่อลดความเครียด และส่งเสริมการมีพฤติกรรมการเผชิญความเครียดที่เหมาะสมต่อไป   The purpose of this descriptive correlational research were to examine stress and coping behaviors, and determine relationships between stress and coping behaviors of adolescent in the Observation and Protection Center. Simple random sampling and quota were used to recruit 110 adolescent aged 11-18 years admitted in the Observation and Protection Center in Chon Buri province. Data were collected during May, 2011. Research instruments included the demographic questionnaire, the Suanprung Stress Test, and the Jalowic’s alpha coefficients were .90 and .85, respectively. Data analyses included frequency, percent, mean, standard deviation, range, Pearson’s correlation, t-test and one-way ANOVA. Result revealed that the sample had mean strees’s score of 50.96(S.D. = 13.07). Most of the sample had high stress level  (54.5%). Mean total coping behaviors’ score was 112.46 (S.D. =14.78). When considering mean score of each aimension, problem focus coping was 43.89 (S.D. = 6.47), emotion focus coping was 25.74 (S.D. = 5.08), and palliative coping was 42.84 (S.D. = 6.12). There was a positively significant correlation between stress and coping behavior (r=.463, p < .001). Moreover, there was a positively significant correlation between stress and each of coping behavior’s dimension (r = .241, p < .05, r = .562, p < .001and r = .397, p < .001, respectively). The sample who were admitted in the Observation and Protection Center 90 days or less had more stress than those with longer than 90 days (t = 2.976, p < .01). The sample with high school or vocational education had better coping behaviors than those with secondary school education (d = -9.217, p < .01). However, There were no significantly differences of coping behaviors among the sample’s age, duration and number of time admitted in the Observation and Protection Center (p > .05) These findings suggest that nursing staffs who work with adolescent in the Observation and Protection Center should plan an intervention to help decrease and further promote appropriated their coping behaviors.

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2552). สถิติจำนวนเด็กและเยาวชน. วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2553, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3ieKboG

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2547). รายงานการทบทวนสถานการณ์เรื่องเพศพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการให้การปรึกษา.

วินัดดา ปิยะศิลป์. (2546). ครอบครัวกับวัยรุ่น กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.

สราวุธ สอนสนาม. (2548). มูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็และเยาวชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุชา จันทร์เอม. (2545). จิตวิทยาเด็กเกเร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย และ พิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

Bartlett, J. E. II, Kotrlik, J. W., & Higgins, C. C. (2001). Organizational research: Determining appropriate sample size in survey research. Information Technology, Learning, and Performance Journal, 19 (1). 43-50.

Bell, J. M. (1997). Stressful life event and method in mental illness and wellness behavior. Nursing Research, 26, 136-139.

Bronstein, K. S. (1991). Psychosocial components in stroke: Implications for adaptation. Nursing Clinics of America, 26 (4), 1007-1017

Jalowice, A. (1988). Confirmatory factor analysis of the Jalowice coping scale. In Waltz C. F., & Strickland, L.(Eds.), Nursing measurement client outcomes, (pp. 287-377). New York: Springer. Lazarus, R., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York: Springer.

Downloads

Published

2021-08-11