ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการในผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

Factors Associated to Nutritional Status of Mechanically Ventilated Critically Ill Patients

Authors

  • ณันตร์ธภรณ์ อินถา
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • อาภรณ์ ดีนาน

Keywords:

โภชนาการ, ทุพโภชนาการ, ผู้ป่วย, ผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการในผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโภชนาการ จำแนกตาม อายุ ความรุนแรงของโรค ภาวะหายใจลำบา และปริมาณพลังงานที่ได้รับ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเข้ารับการรับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 90 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด และสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะโภชนาการ (BNT) แบบประเมินความรุนแรงของโรค (APACHE II) แบบประเมินภาวะหายใจลำบาก (Borg) และแบบบันทึกค่าดุลไนโตรเจนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ independent t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีอายุระหว่าง 20-90 ปี (x̄  = 61, SD = 19.43) มีคะแนนความรุนแรงของโรค (APACHE II) อยู่ระหว่าง 15-43 (x̄  = 26.3, SD = 6.26) ภาวะหายใจลำบาก อยู่ระหว่าง 3.00-8.60 (x̄  = 5.85, SD = 1.52) ปริมาณพลังงานที่ได้รับ อยู่ระหว่าง 2.77 - 44.44 (x̄ = 15.36, SD = 9.01) กิโลแคลอรีต่อน้ำหนัก (ก.ก.) ต่อวัน ดุลไนโตรเจน อยู่ระหว่าง -4.75 -14.95 (x̄ = 2.11, SD = 4.88) และมีคะแนนภาวะโภชนาการ (BNT) อยู่ระหว่าง 8-15 (x̄ = 10.88, SD = 1.92) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการหรือเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการที่รุนแรง (BNY Score > 10) ร้อยละ 53.3 และกลุ่มปานกลาง (BNY Score 8-10) ร้อยละ 46.7 กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยภาวะโภชนาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F2,87 = 10.241, p < .001) กลุ่มที่มีความรุนแรงของโรคต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยภาวะโภชนาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F2,87 = 19.110, p < .001) กลุ่มที่มีภาวะหายใจลำบากต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยภาวะโภชนาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t81= 11.606, p < .001) และกลุ่มที่ได้รับปริมาณพลังงานต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยภาวะโภชนาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F3,86 = 5.084, p < .003) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมรภาวะทุพโภชนาการหรือเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในระดับปานกลางถึงรุนแรงพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรมีแนวทางในการดูแลส่งเสริมด้านโภชนาการแก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเฉพาะในระยะ 5 วันแรกหลังใช้เครื่องช่วยหายใจ  The purpose of this descriptive research were to examine the nutritional status in mechabically ventilated critically ill patients and compare the mean score in regard to the difference in age, severity of illness, dyspnea, and calories intake. The sample were 90 machanically ventilated critically ill patients who were admitted at Queen Savang Vadhana Memorial hospital between December 2011 and May 2012. Patients who met the inclusion criteria were selected by systemaic random sampling. The instruments included a patient characteristic record form, Bhmibok Adulyadej Hospital Nutrition Triage form (BNT), severity of illness assessment form (APACHE II), despnea assessment form (Borg) and nitrogen balance record form. Data were analyzed by using descriptive statistics, independent t-test and one-way ANOVA. The results showed that the sample’s age range was 20-90 years old (x̄ = 61, SD = 19.43). They had APCHE II score in range of 15-43 (x̄= 26.3, SD = 6.26), total calories intake range was 2.77-44.44 (x̄= 15.36, SD = 9.01) kcal./kg./day, Borg score’s range was 3.00-8.60 ( x̄ = 5.85, SD = 1.52) and Nitrogen balance score range was - 4.75 -14.95 (x̄= 2.11, SD = 4.88). BNT score range from 8-15 (x̄ = 10.88, SD = 1.92). These nutrition scores can be divided into 2 group which include malnourished or at risk for severe malnourished (BNY Score > 10; 53.3%) and those classed as moderately malnourished (BNY Score 8-10; 46.7%). BNT mean scores  showed statistically significant differences in different ages (F2,87 = 10.241, p < .001), APACHE II scores (F2,87 = 19.110, p < .001), Borg scores (t81= 11.606, p < .001), and total calories intake (F3,86 = 5.084, p < .003)  The results of this study showed that the mechanically ventilated critically ill patients either had or were at risk of having moderate and severe malnutrition. The nurses and health care team should provide nutritional care to these patients during the first five days after using mechanical ventilators.

References

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด่ไออินเตอร์มีเดีย.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2552). การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. (2553). ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วันที่ค้นข้อมูล 16 ตุลาคม 2553, เข้าถึงได้จาก HIS/C:pccprog/copymenu_new/ipdwdeq01/programlink.

ลัดดา จามพัฒน์. (2549). ภาวะโภชนาการและภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สุรัตน์ โคมินทร์. (2543). โภชนบำบัดในผู้ป่วยวิกฤต. ใน สุมาลี เกียรติบุญศรี (บรรณาธิการ). การดูแลโรคระบบทางเดินหายใจในผู้ใหญ่ (หน้า 581-597). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ASPEN Broad of Directors. (2009). Enteral nutrition practiced recommendations. Journal of Parenteral and Enteral Nutrition, 33 (2), 121-167.

Barker, A. L., Gout, S. B., & Crown, C. T. (2011). Hospital malnutrition: Identification and impact on patients and the healthcare system. International Journal of Environmental Research and Public Health, 8, 514-527.

Barr, J., Hecht, M., Flavin, K. E., Khorana, A., & Gould, M. K. (2004). Outcomes in the critically ill patients before and after the implementation of an evidence-based nutritional management protocol. Chest, 125, 1446-1457.

Borg, G. A. (1982). Psychophysical bases of perceived exertion. Medical Science Sports Exercises, 14, 377-381.

Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychological Bulletin, 112 (1), 155-159.

Downloads

Published

2021-08-11