อิทธิพลของความรู้และทัศนคติที่มีต่อความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดธรรมชาติ

Influencing of Knowledge and Attitudes toward Spouse’s Needs of Participation in Promoting Natural Childbirth

Authors

  • ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต
  • พิริยา ศุภศรี

Keywords:

การคลอด, สตรีมีครรภ์, สามี, ทัศนคติ, การคลอดธรรมชาติ, การมีส่วนร่วม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้และทัศนคติที่มีต่อความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดธรรมชาติ กลุ่มตัววอย่าง คือ สามีของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติ แบบวัดทัศนคติต่อการคลอดธรรมชาติ และแบบสอบถามความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดธรรมชาติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการคลอกธรรมชาติ ทัศนคติต่อการคลอดธรรมชาติและความต้องการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการคลอดธรรมชาติโดยรวมอยู่ในปานกลาง (x̄ = 22.78, SD = 3.28; x̄= 119.47, SD = 8.51 และ x̄ = 89.23, SD = 8.04 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาอิทธิพลของความรู้และทัศนคติที่มีต่อความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดธรรมชาติ พบวา ความรู้และทัศนคติสามารถร่วมกันพยากรณ์ความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดรรมชาติได้ร้อยละ 19.5 ผลการศึกษานี้อาจนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการใช้บริการการคลอดธรรมชาติโดยเน้นการมีส่วนร่วมของสมีและเหมาะสมกับบริบทของวัฒนธรรมไทย  The purpose of this research was to examine the influence of knowledge and attitudes on spouses’ needs to participate in promoting natural childbirth. Samples were 370 spouse having pregnant wives who visited the antenatal care unit at tertiary hospital in eastern part Instruments used for data collection included questionnaires to capture demographic data, natural childbirth knowledge, attitudes toward natural childbirth, and spouses’ needs to promote natural childbirth. Descriptive statistics, Pearson’s Product Moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression were employed to analyze the data. The results revealed that natural childbirth knowledge, attitudes toward natural childbirth, and spouses’ needs to participate level (x̄ = 22.78, SD = 3.28; x̄= 119.47, SD = 8.51 and x̄ = 89.23, SD = 8.04, respectively). Knowledge and attitudes toward natural childbirth could explain 19.5% of variance in spouses’ needs to participate in promoting natural childbirth (p < .05). These findings could be applied foe developing natural childbirth service model which emphasizes spouses’ participation and suitable to the context of Thai culture.

References

เฉลิมพล ตันสกุล. (2543). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์.

ทัศนีย์ กลั่นเขตรกิจ. (2549). ผลการเตรียมเพื่อการคลอดด้วยตนเองต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฎิบัติตัวในระยะคลอดของสตรีครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสตรี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นวพร มามาก ศรีสมร ภูมนสกุล และอรพินธ์ เจริญผล. (2551). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดต่อสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส การรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดา และความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดา มารดาและทารก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 14 (2), 258-273.

บุญทวี สุนทรลิ้มศิริ ศรีสมร ภูมนสกุล และอรพินธ์ เจริญผล. (2552). ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอดต่อความเครียดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15 (3), 361-372.

ปิยฉัตร ปธานราษฏร์. (2549). ความต้องการการสนับสนุนในระยะคลอดของผู้คลอดและครอบครัว. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of educational objectives. New York: David Mckay.

Cohen, S., & Wills, T. A. (1985). Stress, social support and buffering hypothesis. Psychological Bulletin, 98 (2), 310-357.

Flouri, E. (2005). Fathering and child outcome. Hoboken, N. S.: John Wiley & Sons.

Harper, S. E. (2010). Exploring the role of Filipino fathers: Paternal behaviors and child outcomes. Journal of Family Issues, 31 (1), 66-89.

Hildingsson, I., Tingvall, M., & Rubertsson, C. (2008). Partner support in the child-baring period-a follow up study. Women Birth, 21 (4), 141-148.

Downloads

Published

2021-08-11