กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายของเด็กเรียนในชุมชน

The Health Promotion Process for Nutrition and Exercise of School –Age Children in a Community

Authors

  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • พัชรินทร์ พูลทวี

Keywords:

การส่งเสริมสุขภาพ, โภชนาการ, การออกกำลังกาย, ระบบการดูแลสุขภาพ, การเสริมสร้างสุขภาพ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายแก่เด็กวัยเรียนบนแนวคิดนโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาในหมู่บ้านของจังหวัดภาคตะวันออก 2 หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้แทนองค์กรชุมชน เด็กวันเรียนและครอบครัว การเก็บข้อมูลประกอบด้วย (1) จ้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การประชุม ซึ่งได้รับการตรวจสอบความถูกต้องความหลากหลายของข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหา (2) ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ แล้วนำมาวิเคราะห์ความถี่และร้อยละ ได้ผลการศึกษา  ดังนี้  1. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่องค์กรชุมชนดำเนินการอยู่นั้น มุ่งเน้น 3 ประเด็นคือ (1) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (2) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เพื่อให้สามารถควบคุมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเองได้ มีทางเลือกต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง และ (3) การเสริมสร้างกิจกรรมให้เข้มแข็งโดยมีการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ภารกิจหลักของแต่ละองค์กรชุมชน 2. กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกายประกอบด้วย (1) แสวงหาภาคีความร่วมมือและการศึกษาภูมิหลัง (2) ออกแบบและวางแผนการดำเนินงาน (3) ดำเนินงานปรับปรุงแผน และประเมินผลการดำเนินงาน (4) สะท้อนข้อมูลย้อยกลับ ส่งต่อเพื่อขยายผลสู่ชุมชน  3. กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกายจะสำเร็จลงได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญคือ การวิเคราะห์สถานการณ์การสร้างเสริมุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีอยู่ในชุมชน การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายเพื่อสุขภาพเด็กวัยเรียนทุกภาคส่วน การเปิดโอกาสจัดการสุขภาวะของตนเองและการสะท้อนกลับข้อมูลการดำเนินงาน อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่จะทำให้กระบวนการสร้าเสริมสุขภาพ ดำเนินต่อไปได้ไม่สิ้นสุดนั้น จำเป็นต้องมีแรงขับเคลื่อนจากหลายทิศทางทั้งในและนอกชุมชนเข้ามาร่วมผลักดัน 4. จากการจัดกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพฯ ทำให้องค์กรชุมชนกำหนดแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและการอกกกำลังกายเพื่อบรรลุเข้าแผนปฏิบัติการประจำปีในปีต่อไป ตั้งแต่จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพด้านโภชนาการทั้งในโรงเรียนและชุมชนพร้อมกัน เน้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ปรับเปลี่ยนเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จัดบริการอาหารเช้าที่ได้คุณค่า ส่งเสริมการออกกำลังกายในเด็กหญิง และการเพิ่มโอกาสการอกกกำลังกายในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น และการนำตารางเก้าช่องบูรณาการเป็นกิจกรรมหนึ่งการเรียนการสอน สำหรับเด็กวัยเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทายอาหารได้ในประเด็นการเลือกชนิดอาหารและการรับประทานอาหารเช้องค์กรชุมชนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนทั้งในและนอกระบบการศึกษาได้ โดยแสวงหาความร่วมมือจากภาคีที่เกี่ยวข้องและการคืนข้อมูลให้ชุมชน เพื่อนำไปพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพด้านอาหารและการออกกำลังกาย พัฒนาศักยภาพเด็กและผู้ปกครอง สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอต่อสุขภาพต่อไป  The aim of the action research was to develop health promotion pattern and process for nutrition and exercise of school-age children based on the concept and policy of the communities’ organizations. The research was conducted in 2 study group consisted of the representative of the communities’ institutions, school-age children and their families. The quantitative data was gathered by questionnaire and health-related physical fitness assessment then described in term of frequency and percentage. In-depth interviews, focus group, and conferences were conducted for collecting qualitative data. Triangulation and data reflections were used to validate the data. The collected qualitative data were analyzed by content analysis. The results were as follows: 1. The existing of health promotion pattern on nutrition and exercise for school-age children focuses on 3 actions; (1) create supportive environment for health, (2) develop personal skill in order to control over their own health and over their environments, and to make choices conducive to health, and (3)strengthen community action. The community organizations play their role on health promotion program depending on their responsibilities. 2. The process of health promotion on nutrition and exercise for school-age children started with (1) seeking support from stakeholders and looking through the background of health promotion for school-age children. (2) planning (3) implementation and evaluation and (4) reflection and feedback of the information to extend to the communities. 3. The core components of the process of health promotion on nutrition and exercise for school-age children  included and situation analysis of health promotion pattern of nutrition and exercise for school-age children, key stakeholders’ participation, giving chances to school-age children to manage his/her health, and reflecting health information to the communities. Nevertheless, the most important component which moved the process continuously was the influence both inside and outside the communities. 4. The health promotion process persuaded the community institutions to set up health promotion guidelines for nutrition and exercise. These would be form an operational plan next years as well as creating a healthy environment for safety nutrition both in the schools and communities, modifying intake of healthy food, providing nourishing breakfasts, promoting exercise for girls, increasing the change of exercise for girls, increasing the mine table into the curriculum. The children who attended the study change their eating behavior through carefully selecting types of food and eating breakfast. Community institutions can use the information of this study for health promotion planning of school-age children in both the formal and informal sectors. By the participation of relates partnership and reflecting information to communities, the public health policy for nutrition and exercise will be conducted, children and their families’ skills will be strengthened, and healthy environments will be designed.

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2552). รายงานประจำปี 2551 สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

คณะกรรมการส่งเสริมการกีฬาและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ในสถาบันการศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้. (2549). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เดชรัต สุขกำเนิด วัชัย เอกพลากร และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2545). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ : แนวคิด แนวทาง และแนวปฏิบัติ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ.

บุญเอื้อ ยงวานิชชากร และผุสดี จันทร์บาง. (2546). การบริโภคขนมของเด็กประถมศึกษาในจังหวัดนนทบุรี. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 26 (2). สืบค้นข้อมูลวันที่ 12 มิถุนายน 2552. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3x7MkXi

สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สำนักวิจัยระบบสาธารณสุข. (2553). รายงานผลการสำรวจด้านโภชนาการ การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

Bunchonhattakit, P. (2008). Effects of school-social network on childhood obesity prevention (SNOCOP) in primary schools Saraburi province. Thesis on the degree of Doctor of Public Health (Health Education and Behavioral Science), Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.

Denzin, N. (1989). The research art: A theoretical introduction to sociological methods. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Martorell, R. (2003). Chapter 8: Obesity an emerging health and nutrition issue in developing countries, Retrieved March 2, 2009, from https://bit.ly/3BW8i3i

Streubert, H. J. & Carpenter, D. R. (2003). Qualitative research in nursing : Advancing the humanistic imperative (2nd ed.) Philadelphia: Lippincott.

World Health Organization. (2004). Global strategy on diet, physical activity, and health. Retrieved May 5, 2009, from https://bit.ly/2UWefN2

Downloads

Published

2021-08-11