การมีส่วนร่วมของผู้ชายเมื่อมีการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ตามทัศนะของบุคลากรทางสุขภาพ

Perspective of Health Care Providers Regarding Male Participation in Unwanted Pregnancy Termination

Authors

  • วรางคณา ชัชเวช
  • จิตรานันท์ สมพร
  • สุรีย์พร กฤษเจริญ

Keywords:

ครรภ์ไม่พึงประสงค์, การทำแท้ง, ยุติการตั้งครรภ์, บุคลากรทางสุขภาพ

Abstract

          การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของบุคลากรทางสุขภาพเกี่ยวกับการมรส่วนร่วมของผู้ชายเมื่อมีการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 13 คน ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 10 คน แพทย์ 2 คน และนักสังคมสงเคราะห์ 1 คน ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้รับบริการที่ยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รายบุคคล ตามแนวคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการตรวจสอบข้อมูลของผู้ให้ข้อมูล  ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรทางสุขภาพมีทัศนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ชายเมื่อมีการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จำแนกเป็น 2 กลุ่มที่แตกต่างกันดังนี้ 1) ผู้ชายร่วมดูแลผู้หญิง ด้วยเหตุผล ทำด้วยกัน ผู้ชายทำ และผู้หญิงเจ็บ ซึ่งมาจากความเชื่อ ทัศนคติของบุคลากรทางสุขภาพที่เข้าใจในผู้หญิงว่า ผู้หญิงมีเหตุผลของตัวเองที่ต้องยุติการตั้งครรภ์ 2) ผู้หญิงดูแลตัวเอง โดยผู้ชายไม่ต้องมีส่วนร่วม ด้วยเหตุผล สิทธิพิเศษของผู้ชาย และภาวะจำยอมของผู้หญิง ซึ่งมาจากทัศนคติของบุคลากรทางสุขภาพที่ตัดสินผู้หญิงโดยใช้ทัศนคติส่วนตนที่ยึดมั่นในหลักศาสนา และกฎของสังคม ดังนั้น ขึงควรหากลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนแปลงการให้บริการเป็นการให้บริการที่คำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ตามนโยบายอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เน้นการคำนึงถึงเพศสภาวะ      This qualitative study aimed to study the perspective of health care providers on male participation when unwanted pregnancy is terminated. The thirteen participants consisted of ten professional nurse, two physicians, an one social worker with experience in taking care if women who had unwanted pregnancy termination. Individual interviews using open-ended questions were conducted. Data analysis was carried out tough content analysis. Member checking was conducted to establish the rigor of the study The result showed that male participation when unwanted pregnancy is terminated from the perspective of health care providers was differentiated into : 1) men taking care of women because of mutual activity, men’s conduct and women being hurt, from the health care providers’ belief, attitude and understanding that women had their  own reasons for their terminating unwanted pregnancy; 2) women taking care of themselves without male participation due to ,ale privilege and female surrender, from the health care providers’ judging women on the basis of their own attitude that adhered to religion and social rules. Therefore, it would be benefit to establish strategies to transform reproductive health service to accommodate gender equity in accordance with a reproductive health policy focusing on gender sensitive health care.

References

กนกวรรณ ธราวรรณ. (2545).รายงานผลการวิจัย บันทึกประสบการณ์ของผู้หญิงที่ตั้งท้องเมื่อไม่พร้อม. กรุงเทพฯ: โครงการรณรงค์เพื่อสิทธิอนามัยเจริญพันธ์ สภาประชากร.

มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง. (2547). สรุปสถานการณ์ด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์. (2544). บทบาทหญิงชายกับบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในโรงพยาบาลรัฐของประเทศ. ใน บุปผา ศิริรัศมี และจรรยา เศรษฐบุตร (บรรณาธิการ), รายงานการวิจัยโครงการพัฒนางานวิจัยด้านเพศภาวะ มิติทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ ชุดที่ 4 (หน้า 135-201). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุชาดา รัชชุกูล. (2541). การตั้งครรภ์ไม่พึงปราถนาและการตัดสินใจทำแท้ง. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Chatchawet, W. (2009). Male participation regarding termination of unwanted pregnancy. Unpublished Doctoral Dissertation, Chiang Mai University, Thailand.

Chatchawet, W., Sripichyakan, K., Kantaruksa, K., Nilmanat, K., & O’Brien, B. (2010). Support from Thai male partners when an unwanted pregnancy is terminated. Pacific Rim International Journal of Nursing, 14 (3), 249-261.

Isarabhadi, P. (1999). Sexual attitudes and experience of rural Thai youth. Nakonpatom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

Jackson, D. & Mannix, J. (2004). Giving voice to the burden of blame: A feminist study of mothers’ experiences of mother blaming International Journal of Nursing Practice, 10, 150-158.

Lincoln, S. Y., & Guba, G. E. (1985). Naturalistic inquiry. Newbury Park: SAGE.

Kanato, M. (1998). Sexual behavior. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand.

Downloads

Published

2021-08-11