ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางสังคมในเด็กวัยก่อนเรียนที่รับบริการในศูนย์เลี้ยงเด็กในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • สุภาพร แสงหล้า
  • นุจรี ไชยมงคล
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

ทักษะทางสังคมในเด็ก, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, เด็กวัยก่อนเข้าเรียน

Abstract

            การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์และทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางสังคมในเด็กวัยก่อนเรียนที่รับบริการในศูนย์เลี้ยงเด็ก ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและเด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 124 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพื้นฐานอารมณ์เด็ก แบบสอบถามความสัมพันธ์ในครอบครัว และแบบสอบถามพฤติกรรมทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่นของครอนบาค อัลฟาเท่ากับ .74, .90, .71 ตามลำดับ และแบบสอบถามสิ่งแวดล้อมที่บ้าน นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยวิธีหาค่าคูเดอร์ริชาร์ดสัน -20 (KR-20) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าเพศของเด็ก (หญิง) ความสัมพันธ์ในครอบครัว และสภาพแวดล้อมที่บ้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียน (r = -.232 p < .05, r = .249, p < .01 และ r = .222, p <.05 ตามลำดับ) ความสัมพันธ์ในครอบครัว เป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดและมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถทำนายพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียนได้ร้อยละ 6.2 (= .225, t = 2.573, p < .05) รองลงมาคือ เพศของเด็ก ทำนายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.2 (= -.206, t = -2.353, p < .05) และตัวแปรทั้งสองสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียนได้ร้อยละ 10.4 (R2 = .104, F1,119 = 6.880, p < .01) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความสำคัญและส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียน พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน ควรส่งเสริมให้ครอบครัว ได้มีการใช้เวลาและทำกิจกรรมร่วมกัน จะเป็นการช่วยสร้างความสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว และส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียนที่เหมาะสม            This descriptive correlational predictive study aimed to examine predictors of social behavior of preschoolers receiving services in Child Care Centers in the municipality of Chon Buri province. Sample included 124 mothers of the preschoolers. Multi-stage random sampling was used to recruit the sample. Research instrument consisted of the preschool temperament questionnaire, the family relation questionnaire, the Home Environment for Measurement of the Environment Scale, and the Preschool Social Behavior scale. Their reliability were .74, .90, .78, and .71, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation, and stepwise multiple regression, Results revealed that child gender (girl), family relation and home environment were associated with social behavior of preschool children (r = -.232 p < .05, r = .249, p < .01 and r = .222, p <.05 respectively). Family relation was the best predictor, which accounted for 6.2% (= .225, t = 2.573, p < .05) in the prediction of social behavior; and the second best predictor was child gender accounting for 4.2% (= -.206, t = -2.353, p < .05) Both predictors accounted for 10.4% (R2 = .104, F1,119 = 6.880, p < .01) in the prediction. These findings suggest that family relation is the significant factor and has an influence on social behavior of preschool children. Nurses and personnel who involve in taking care of preschoolers should promote having time and activity within the family, and that could enhance good family relation, and resulting in appropriate social behavior of the preschoolers.

Downloads

Published

2021-12-24