ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองในการคลอดต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอด และการควบคุมตนเองระหว่างการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก

Authors

  • จันทนา โปรยเงิน
  • ศิริวรรณ แสงอินทร์
  • วรรณทนา ศุภสีมานนท์

Keywords:

ความสามารถในตนเอง, การควบคุมตนเอง, การคลอด, สตรีมีครรภ์

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่เปรียบเทียบได้กับการวิจัยแบบทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองในการคลอดต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอดและการควบคุมตนเองระหว่างการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์และคลอดบุตร ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 60 ราย สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองในการคลอดร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือวิจัยคือ แบบวัดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการคลอด และแบบสอบถามความรู้สึกต่อประสบการณ์ การคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติที          ผลวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอดสูงกว่าก่อนการทดลอง (t29= 19.91, p < .01) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t58 = 5.30, p < .01) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการควบคุมตนเองระหว่างการคลอดสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t58 = 9.57, p < .01) จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองในการคลอดทำให้ผู้คลอดเกิดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอดและควบคุมตนเองระหว่างการคลอดได้ จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้คลอดต่อไป          This two-group pretest-posttest comparative experimental research aimed to determine effects of a childbirth self-efficacy promoting program on perceived childbirth self-efficacy and personal control during childbirth among primiparous women. Sample included 60 primiparous women receiving antenatal care and giving birth at Phramongkutklao hospital. Convenience sampling with inclusion criteria was used to recruit participants. Participants were randomly assigned to either a control group (n = 30) or an experimental group (n = 30). Control group received a routine nursing care while experimental group received a childbirth self-efficacy promoting program plus a routine nursing care. The instruments were the Childbirth Self-Efficacy Inventory questionnaire, and the Labour Agentry Scale. Data were analysed by using descriptive statistics and t-test.          Results showed that after experiment, experimental group had higher average score of perceived childbirth self-efficacy than before experiment (t29 = 19.91, p < .01) and had higher average score of perceived childbirth self-efficacy than that of control group (t58 = 5.30, p < .01). Also, experiment group had higher average score of personal control during childbirth than that in control group   (t58 = 9.57, p < .01). Finding implies that this program could promote perceived childbirth self-efficacy and personal control during childbirth. Thus, it should be used to be a guideline of caring for women who will give birth

Downloads