การจัดบริการด้านสุขภาพของเรือนจำตามการรับรู้ของผู้ต้องขับหญิงตั้งครรภ์

Authors

  • ศุภาว์ เผือกเทศ
  • นันทกา สวัสดิพานิช

Keywords:

เรือนจำ, บริการส่งเสริมสุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ, นักโทษหญิง, สตรีมีครรภ์

Abstract

          การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการจัดบริการด้านสุขภาพของเรือนจำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์จำนวน 30 ราย ร่วมกับการสังเกต และการศึกษาเอกสารในเรือนจำที่เข้าร่วมโครงการกำลังใจในพระดำริฯ 11 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา          ผลการวิจัยพบ 4 ประเด็นหลักคือ 1) มีการดูแลสุขภาพครรภ์ 2) มีการส่งเสริมสุขภาพกาย 3) มีการส่งเสริมสุขภาพจิตค่อนข้างน้อย และ 4) ได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าผู้ต้องขังหญิงทั่วไป ผลการศึกษาทำให้เข้าใจสถานการณ์การจัดบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ในเรือนจำและสามารถนำข้อมูลมาพัฒนาการจัดบริการด้านสุขภาพให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงหรือข้อกำหนดกรุงเทพฯ ต่อไป           This qualitative research aimed to examine the pregnant inmates’ perceptions of health care service management in the prison. Data were collected by the in-depth interviews of 30 pregnant inmates, observation, and reviews of secondary data recorded by 11 prisons participating in the Kamlangjai project. The data were analyzed using content analysis.          The results showed four themes: 1) fetal health care, 2) physical health promotion, 3) minimal mental health promotion, and 4) more privileges for pregnant inmates than other female inmates. These results depicted the situation of health care service management for pregnant inmates in the prisons. In addition, the findings from this study could be applied to efficiently develop health care service management in order to be in accordance with the United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and Non-custodial Measures for Women Offenders, the Bangkok Rules.

Downloads