ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครนายก

Authors

  • จันทิมา พรเชนศวรพงศ์
  • จันทร์นภา คำวัจนัง
  • กวินทร์นาฎ บุญชู

Keywords:

กล้ามเนื้อหัวใจ, การพยาบาล, ผู้ป่วย, การดูแล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงที่มารับบริการในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครนายก ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์ของ Soukup มาใช้เป็นกรอบการพัฒนาและการวิจัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงที่เข้ารับบริการในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครนายกจำนวน 26 ราย และบุคลากรพยาบาล แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 20 คน           เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน คู่มือการใช้แนวปฏิบัติฯ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบบันทึกเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนของแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบติดตามผลในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและแบบสอบถามความพึงพอใจบุคลากรผู้ใช้แนวปฏิบัติฯ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการ 4 ระยะ คือ การวิเคราะห์สถานการณ์ การสร้างแนวปฏิบัติฯ ระยะดำเนินการ และการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าที          ผลการวิจัย พบว่า หลังนำแนวปฏิบัติฯ ที่สร้างขึ้นไปใช้ดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภายใน 5 นาที ร้อยละ 88.46 ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที ร้อยละ 84.61 และได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาที ร้อยละ 73.07 ระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t = 6.50, p < .01) นอกจากนั้นพบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 (SD = .42) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงคุณภาพให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละหน่วยงาน          The purpose of this study was to develop and utilize clinical practice guideline for ST elevated myocardial infarction patients in Emergency Department at Nakhonnayok Hospital. Evidence based practice based on Soukup was guided in the study. The sample of 26 acute myocardial infarction patients and 20 professional nursed in Emergency Department was recruited into the study. The instruments included clinical practice guidelines for ST elevate myocardial infarction patients, demographic data report form, time recording form of activities following clinical practice guidelines, and satisfaction in using clinical practice guidelines. This study was divided into four phase: situation analysis, practice guideline development, guideline utilization, and guideline evaluation. Data were analyzed by using descriptive statistic and t-test.          Results indicated that the percentage of the patients received triage within 5 minutes was 88.46%, the percentage of the patients receive EKG within 10 minutes was 84.61% and the percentage of the patients who received fibrinolytic drug within 30 minutes was 73.07%, chest pain level was significantly decreased (t = 6.50, p < .01). In addition, the professional nurses reported overall satisfaction score in using the clinical practice guidelines for ST elevation myocardial infarction patients at a high level (X̅ = 4.52, SD = .42). The finding should be in other health care settings.

Downloads