ผลของโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขันต่อความกลัวของเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

Authors

  • พัชมณฑ์ เกษรบัว
  • ชนัดดา แนบเกษร
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์

Keywords:

ความกลัวในเด็ก, การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, อารมณ์ขัน, การ์ตูน

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขันต่อความกลัวของเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ณ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 24 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินระดับความกลัวโดยภาพการแสดงออกทางใบหน้าและแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัว ซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ .77และ .81 ตามลำดับ และวัดอัตราการเต้นของชีพจรด้วยเครื่องวัดอัตราการเต้นของชีพจร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนความกลัวโดยภาพการแสดงออกทางใบหน้า พฤติกรรมความกลัวและอัตราการเต้นของชีพจร ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเด็กวัยเรียนควร นำโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขันนี้ไปใช้เพื่อลดความกลัวให้กับผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำThis two-group pretest-posttest quasiexperimentalresearch aimed to determine effectof humor media program on fear of school-agechildren receiving intravenous infusion. Sampleincluded 24 school-age children who receivedintravenous infusion at pediatric ward,Buddhasothorn hospital, Chachoengsao province.They were divided into control or experimentalgroups by the use of simple random assignment.Each group consisted of 12 school-age children.The experimental group received humor mediaprogram while the control group received a routinenursing care. Research instruments consisted ofthe demographic questionnaire, figures of facialexpression of fear, fear behavior observation andpulse oximeter for pulse rate measure. The figuresof facial expression of fear and fear behaviorobservation questionnaires had reliability of .77and .81, respectively. Data were analyzed by usingfrequency, percentage, standard deviation andt-test.Results revealed that after receiving theintervention program, there were statisticallysignificant mean differences of fear rating, fearbehavior and pulse rate between experimentaland control groups (p < . 01 ). The study suggestedthat nurses who take care school-age childrenshould apply this humor media program forreducing fear among school-age children whoreceive intravenous infusion.Keywords: Humor media program, fear, schoolchildren, intravenous infusion

Downloads

Published

2021-07-30