ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดจันทบุรี.

Authors

  • นวลพรรณ อิศโร
  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์

Keywords:

นักเรียนมัธยมศึกษา - - พฤติกรรมทางเพศ, เพศสัมพันธ์, วัยรุ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 470 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ แบบสอบถามการเข้าถึงสถานบันเทิง แบบสอบถามการเข้าถึงสื่อทางเพศ แบบสอบถามการควบคุมกำกับของครอบครัว แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท และแบบสอบถามพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .82, .73, .72, .86, .76, .71 และ .75ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 73.62) ปัจจัยด้านการเข้าถึงสื่อทางเพศ (β = -.405) การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (β = .092) พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท (β = -.155) การควบคุมกำกับของครอบครัว(β = .112) และทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ (β = .088) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 29.8 (R2 = .298, F(5, 464) = 39.339,p <.001) ซึ่งสร้างเป็นสมการทำนายในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้พฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ = 53.450 - .497(การเข้าถึงสื่อทางเพศ) + .100 (การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ) -.297(พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท) +.247 (การควบคุมกำกับของครอบครัว) + .117 (ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ)จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาควรพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนต้น ด้วยการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตน ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยเน้นการควบคุมกำกับของครอบครัวThe study aimed to describe appropriatedsexual behaviors and examine factors predicting appropriated sexual behaviors among thelower secondary school students in Chanthaburiprovince. A multi-stage random sampling methodwas used to recruit the sample of 470 lowersecondary school students. Research instrumentsincluded a demographic, attitude towards sex,self-efficacy to avoid sexual risk behaviors, accessto entertainment complex, access to sexualmedia, supervision of family, sexual risk behaviorsof close friends, and appropriated sexual behaviorsquestionnaires. Their reliabilities were .82, .73, .72,.86, .76, .71 and .75 respectively. Data collectiontook place from November to December, 2014.Data were analyzed by using descriptive statisticsand stepwise multiple regression analysis.The results revealed that the appropriatedsexual behaviors were considered as normallevel (73.62 %).For stepwise multiple regressionanalysis, access to sexual media (β = -.405), selfefficacyto avoid sexual risk behaviors (β = .092),sexual risk behaviors of close friends (β = -.155),supervision of family (β = .112), and attitudetowards sex (β = .088) were significant predictorsof appropriated sexual behaviors and accountedfor 29.8 % in the variance of appropriated sexualbehaviors (R² = .298, F(5, 464) = 39.339, p < .001).The prediction equations based on raw scoreswere showed as follows:Appropriated sexual behaviors = 53.450 -.497 (access to sexual media) + .100 (self-efficacyto avoid sexual risk behaviors) - .297 (sexual riskbehaviors of close friends) + .247 (supervision offamily) + .117 (attitude towards sex)The findings suggest that community nurseand related persons in the school should developprojects or activities to promote appropriatedsexual behaviors for the lower secondary schoolstudents focusing on self-efficacy to avoid sexualrisk behavior, attitude towards sex, and preventsexual risk behaviors which emphasize thesupervision of the family.

Downloads

Published

2021-07-30