ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกายด้วยห่วงฮูลาฮูป การควบคุมอาหาร และเส้นรอบเอวของอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วนลงพุง.

Authors

  • อรวรรณ คงเพียรธรรม
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล
  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ

Keywords:

การควบคุมตนเอง, การออกกำลังกาย, ฮูลาฮูป, การกำหนดอาหาร, โรคอ้วน

Abstract

ภาวะอ้วนลงพุงเป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุขเพราะผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ดังนั้น การควบคุมเส้นรอบเอวให้ปกติสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกายด้วยห่วงฮูลาฮูป การควบคุมอาหารและเส้นรอบเอวของอาสาสมัครสาธารณสุข ที่มีภาวะอ้วนลงพุง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี จำนวน 66 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ33 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองส่วนกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ในการปฏิบัติตนจากพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการกำกับตนเอง คู่มือการปฏิบัติการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยห่วงฮูลาฮูปและการควบคุมอาหารแบบบันทึกกินพิชิตเอวเต้นพิชิตพุง แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการออกกำลังกาย แบบสอบถามการควบคุมอาหาร และสายวัดรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนการออกกำลังกายด้วยห่วงฮูลาฮูปการควบคุมอาหาร และเส้นรอบเอวมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 26.70, p < .001; t = 10.14, p < .001; t = 6.94, p < .001ตามลำดับ) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยห่วงฮูลาฮูป และการควบคุมอาหารเพื่อลดเส้นรอบเอวในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงได้Central obesity is a major public healthproblem since it is associated with a statisticallyhigher risk of various chronic illnesses. Therefore,maintaining a waist circumference within thenormal range would reduce the risk of diseasesassociated with central obesity. The purpose ofthis research was to examine the effects of aself-regulation program on hula hoop exercise,dietary control, and waist circumference amongcentral obesity health volunteers. A simplerandom sampling method was used to recruit66 central obesity health volunteers who met theinclusion criteria. Then, they were randomly assigned into either the experimental (n = 33) orthe control (n = 33) groups. The experimentalgroup received the self-regulation program onhula hoop exercise and dietary control whereasthe control group received nurses’ routine careservice. The research instruments included ahandbook of a self-regulation program on hulahoop exercise and dietary control, self-recordedform entitled “Eat to achieve the waistlineand workout dance to get rid of the belly fat”,demographic questionnaire, exercise and a dietarycontrol questionnaires and measuring tape. Datawas analyzed using descriptive statistic andindependent t-test.The results revealed that the experimentalgroup had higher mean difference scores of hulahoop exercise, dietary control, and waistcircumference than those of the control group atthe significant level of .05 (t = 26.70 p < .001,t = 10.14 p < .001, t = 6.94 p < .001 respectively).The research findings suggested that staff nursesin primary care settings could apply this programas a guideline for behavior modification via hulahoop exercise and diet control in order to reducetheir waist circumference

Downloads

Published

2021-07-30