ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสมองเสื่อม

Authors

  • สายฝน อินศรีชื่น
  • ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์

Keywords:

การพยาบาล, การนอนหลับ, การบำบัดด้วยกลิ่น, ภาวะสมองเสื่อม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ก่อนและหลังได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัด และเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับในผ้สู ูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระหว่างกล่มุ ที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะที่ 1และ 2 อายุตั้งแต่ 60 - 85 ปี ในสถานพยาบาลเดอะซีเนียร์จำนวน 44 คน เป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม22 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัด เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัด และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ มีค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (dependent t-test และ independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม หลังได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัด ดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)2. คุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัด ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย พยาบาลที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมควรพิจารณานำกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัดไปใช้ในการจัดการกับภาวะนอนไม่หลับแต่ควรปรับรายละเอียดของกิจกรรมให้เหมาะสมกับระยะของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุแต่ละรายThis quasi-experimental research aimed tocompare sleep quality in older persons withdementia before and after receiving nursing careusing aromatherapy and to compare sleep qualityin older persons with dementia between theexperimental group and control group. A samplewas 44 men and women aged 60 – 85 years inthe Senior Hospital. They were divided into2 groups: 22 persons in each group. The controlgroup received conventional nursing care whilethe experimental group received the nursingcare using aromatherapy for four weeks. Theinstruments of this study were the nursing carewith aromatherapy program and the PittsburghSleep Quality Index with the reliability was .83.Data were analyzed using descriptive, dependentt-test and independent t-test. The results weresummarized as follows:1. The quality of sleep in older personswith dementia after received the nursing careusing aromatherapy was significantly better thanbefore receiving the program (p < .05).2. The quality of sleep in older personswith dementia after received the nursing careusing aromatherapy was significantly better thanthe subject receiving conventional care (p < .05).Findings suggested that nurses shouldapply this nursing care and aromatherapy to beguidelines for reducing the sleep problem onolder persons with dementia. But nurses shouldbe adjusted the details of activities appropriateto stage of dementia in the older persons

Downloads

Published

2021-07-30