ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ ของผู้ต้องขังชายเรือนจำ เขต 7

Authors

  • อังคณา แจ่มนิยม
  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

Keywords:

เจตคติ, การตรวจคัดกรอง, การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, การรับรู้, การควบคุมปัจจัย, การตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวี

Abstract

          ปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ต้องขัง  ซึ่งเป็น กลุ่มที่มีประสบการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง  เป็นปัญหาใหญ่เนื่องจากมีการแพร่เชื้อได้ง่าย การตรวจคัดกรอง เชื้อเอชไอวีเป็นวิธีการควบคุมป้องกันโรคเอดส์ได้ดีที่สุด แต่อัตราความครอบคลุมในกลุ่มผู้ต้องขังยังต่ำ เพียงร้อยละ 9.27 (กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์, 2555) โดยผู้ต้องขังเหล่านี้ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวี แต่จะทราบว่าตนเองติดเชื้อเมื่อมีอาการของโรคเอดส์แล้ว หรือโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหรือตามแพทย์วินิจฉัยเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ ความตั้งใจในการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีของผู้ต้องขังชายเรือนจำเขต  7  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังชาย  จำนวน 420  คน  ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล  เจตคติต่อการคัดกรอง  การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง  และความตั้งใจตรวจคัดกรอง  โดยวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติบรรยาย  (descriptive  statistic)  ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression)          ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตั้งใจที่ จะไปตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 58.90 (SD = 25.01) เจตคติต่อการตรวจคัดกรองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.12  (SD  =  1.17)  การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  5.38  (SD  =  3.48)  และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.21 (SD = 1.35) โดยเจตคติต่อการตรวจคัดกรอง (Att) ประสบการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (Risk) ประสบการณ์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (Exp) และระดับการศึกษา (Edu) สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวี (Intention)  ของผู้ต้องขังชายเรือนจำเขต  7  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ได้ร้อยละ 12 ด้วยสมการถดถอย Intention = 30.756 + 4.591 (Att) + 2.097 (Risk) + 7.925 (Exp) + 0.965 (Edu) ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถ นำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวี  และเสนอประโยชน์จากการเข้ารับการตรวจ  เพื่อส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อการตรวจคัดกรองรวมถึงการส่งเสริมคุณภาพการรักษาให้ได้รับประสบการณ์ตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีที่ดี  เพื่อทำให้คนกลุ่มนี้เข้ารับการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีเพิ่มมากขึ้น            HIV infection among prisoners, a group with a high risk of infection, was a big problem as the disease  would  easily  be  transmitted  to  other. An HIV screening test is one of the best methods of  preventing  HIV  infection,  but  the  screening coverage  among  prisoners  is  still  low  around 9.27%.  This  research  aimed  to  investigate  the factors that would affect the intention of male prisoners in prison, seventh territory to take HIV voluntary screening test. The sample consisted of 420  male  prisoners,  selected  by  multi-stagerandom  sampling.  A  constructed  questionnaire, based on the Theory of Planned Behavior, was used as a tool to collect data. This questionnaire comprised  personal  factors  such  as  attitude toward taking screening test, subjective norm and intention on taking screening test. The data were analyzed  by  descriptive  analysis  as  well  as frequency, percent, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.          The  research  results  revealed  that  the mean score of intention on taking HIV voluntary screening test was at 58.90 (SD = 25.01) attitude toward  taking  screening  test  was  at  2.12  (SD  = 0.62) subjective norm was at 5.38 (SD = 3.48) and perceived behavioral control was at 1.21 (SD = 1.35). The attitude toward taking screening test (Att), the risk of getting HIV (Risk), experience about screening (Exp), and educational level (Edu) were to predict the intention of HIV screening test of male prisoner with a statistical significance at 0.05 level, at 12% by regression equation as follows: Intention = 30.756 + 4.591 (Att) + 2.097 (Risk) + 7.925 (Exp) + 0.965 (Edu). The research findings could  be  applied  to  use  as  a  guide  enhance knowledge  on  HIV  screening,  and  suggest  the benefits  of  screening  to  promote  the  good attitude toward screening as well as to promote the quality of treatment. This group of prisoners would  then  have  good  experience  on  HIV screening, and then attract more prisoners to join the screening test.

Downloads