ปัจจัยทำนายการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตอภเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

Authors

  • จันทร์จิรา อยู่วัฒนา
  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
  • พรนภา หอมสินธุ์

Keywords:

ปัจจัยทำนาย, การดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ทำนายการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ในเขตอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง จำนวน 137 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์ความรู้ในการดูแลตนเอง แบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพภายในครอบครัว แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และแบบสัมภาษณ์การดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ .92, .78, .90, .93 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน          ผลการวิจัยพบว่า การดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 2.60, SD = 487) ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม (β = .376) สัมพันธภาพภายในครอบครัว (β = .329) และภาวะสุขภาพ (β = .201) สามารถร่วมกันทำนายการดูแลตนเองได้ร้อยละ 48.5 (R2 = .485) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรนำผลวิจัยไปใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรม/ โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เพื่อให้มีภาวะสุขภาพที่ดี โดยเน้นการสนับสนุนทางสังคม และสัมพันธภาพภายในครอบครัว           The purpose of this research was to identify factors predicting self-care among elderly with chronic diseases in Chaibadan district, Lop Buri province. A multistage random sampling method was used to recruit 137 elderly people with chronic disease. Data collection took place from October to December, 2015. Research instruments were self-report questionnaires including a demographic data, the health status, knowledge towards self-care, family relationship, social support, and self-care questionnaires with Cronbach’s alpha coefficient .92, .78, .90, .93 and .80, respectively. Data was analyzed by using descriptive statistics and the Stepwise multiple regression analysis.          The results revealed that the sample had mean scores of self-care at high level (M = 2.60, SD = .487). The significant predictors of self-care were social support (β = .376), family relationship (β = .329), and health status (β = .201). The model explained 48.5 % of variance. These findings suggest that nurses and related health care providers could apply these study results to develop activities/ programs to promote self-care behavior among elderly people with chronic diseases for good health status. The program should focus on social support and family relationships.

Downloads