ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกำกับตนเองในการควบคุมโรคหืดของเด็กวัยเรียน

Authors

  • พรรณี ปรรคลักษ์
  • นฤมล ธีระรังสิกุล
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์

Keywords:

เด็กวัยเรียน, การกำกับตนเอง, โรคหืด

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการกำกับตนเองในการควบคุมโรคหืดของเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นเด็กวัยเรียนโรคหืดอายุ 8-12 ปี ที่เข้ารับการรักษา แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม ความรู้เกี่ยวกับโรคหืด การรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมโรคหืด การรับรู้อาการ การสนับสนุนทางสังคม และการกำกับตนเองในการควบคุมโรคหืดของเด็กวัยเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .79, .76, .73, .82 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน          ผลการวิจัยพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ ความสามารถของตนเอง และการรับรู้อาการ มีความสัมพันธ์ ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการกำกับตนเองของเด็กวัยเรียนโรคหืด (r = .643, p < .001, r = .555, p < .001 และ r = .391, p < .001 ตามลำดับ) ความรู้เกี่ยวกับโรคหืดไม่มีความสัมพันธ์กับการกำกับตนเองของเด็กวัยเรียนโรคหืด (p > .05) ผลการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเด็กและบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำ ผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวางแผนโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองในการควบคุมโรคหืดโดยเน้นเรื่องการเพิ่มการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้อาการในเด็กวัยเรียนโรคหืด เพื่อให้มีการป้องกันไม่ให้เกิดอาการหอบหืด            This study aimed to examine the relationships between knowledge about factors related to self-regulation for asthma control among school age children. A simple random sampling was used to recruit a sample of 100 school-age children with asthma aged 8-12 years and follow up in Out Patient Department at Queen Sirikit National Institute of Child Health, Bangkok. Research instruments included questionnaires of the knowledge about asthma, perceived self-efficacy, perception of symptoms, social support and self-regulation for asthma control among school age children. Their internal consistency reliability were .79, 76, .73, .82 and .83 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation.          Results revealed that social support, perceived self-efficacy and perception of symptoms were significantly positive relationships with the self-regulation for asthma control among school age children (r = .643, p < .001, r = .555, p < .001 and r = .391, p < .001 respectively). However, there was no significant relationship between the knowledge about asthma and the self-regulation for asthma control among school age children (p > .05). These findings suggested that pediatric nurses and health care providers could obtain these results to utilize for planning an intervention to promote self-regulation for asthma control by focusing on increasing social support, perceived self-efficacy and perception of symptoms in order to asthma control among school-age children for prevent asthma symptoms.

Downloads