ความชอบของผู้สูงอายุโรคมะเร็งในระยะลุกลาม เกี่ยวกับคุณลักษณะของพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคอง

Authors

  • ยุพิน ถนัดวณิชย์
  • นนทกร ดำนงค์

Keywords:

ผู้ป่วยสูงอายุ, โรคมะเร็ง

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชอบของผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งในระยะลุกลามเกี่ยวกับคุณลักษณะของพยาบาล ในการดูแลแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ (อายุ ≥ 60 ปี) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งโดยแพทย์เจ้าของไข้ ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี และได้รับการสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ โรคมะเร็ง อยู่ในระยะลุกลาม (คะแนนจากการประเมินด้วย Palliative Performance Scale version2 ≤ 60) กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 20 คน ได้รับการเชิญและเข้าร่วมการให้สัมภาษณ์ในเชิงลึกตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ได้พัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรม แล้วถูกตรวจสอบความตรงของเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะของพยาบาลที่ผู้สูงอายุ โรคมะเร็งในระยะลุกลามมีความชอบและต้องการในการให้การดูแลแบบประคับประคองที่เน้นความสุขสบายเป็นสำคัญนั้น มี 4 ประเด็น  ได้แก่ พฤติกรรม/บุคลิก ของพยาบาลที่ต้องการ (การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ) การพยาบาลที่ชอบ (การบรรเทาอาการไม่สุขสบาย การบริการ ช่วยเหลือผู้ป่วย การให้ความรู้) ลักษณะของวิชาชีพพยาบาล (เป็นวิชาชีพที่มีความรู้ ทักษะและจริยธรรม) และคุณค่าของพยาบาล (พยาบาลสามารถให้การพยาบาลในระดับที่ดีทุกคน) จากผลการศึกษาวิจัย สรุปได้ว่า การดูแลแบบประคับประคองที่เน้นความสุขสบายของผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคมะเร็งในระยะลุกลาม นั้นจำเป็นต้องมีพยาบาลที่มีความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพการบรรเทาอาการไม่สุขสบายโดยเฉพาะความเจ็บปวด และมีจริยธรรมในการพยาบาลความสุขสบาย ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล            This qualitative research aimed to study nurse-characteristics preferences of older  adult patients with advanced cancer. The patients who were diagnosed with cancer by their  primary doctors, admitted to Chonburi Cancer Hospital (Length of stay ≥ 7 days), and met other inclusion criteria--score from the assessment by the Palliative Performance Scale  version2 ≤ 60, as illness with advanced cancer--were recruited by the purposive sampling. There were 20 samples. They were invited and interviewed in depth following the Semi-Structured Interview Guide which was developed by reviewing literature and tested for the content validity. The content analysis was used to analyze the data. Three nursing experts  on cancer care, palliative care, end-of-life care, and care for the elderly verified the prior categories. The result showed 4 categories emerged. These were (1) needed behaviors/personalities of nurses (effective communication); (2) preferred nursing care  (relieving discomfort, helping patient service, and providing knowledge); (3) characteristics of nursing professional (consisting of knowledge, skills, and ethics); (4) values of nurses (Every nurse could provide good nursing care); In summary, to improve quality of nursing care, palliative care focusing on comfort care for older adult patients with advanced cancer needs professional nurses who have sufficient knowledge and skills in effective communication,  relieving discomfort (especially pain), and ethics for comfort care.

Downloads