ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

Authors

  • สินี กะราลัย
  • จารุรัตน์ ศรีรัตนประภาส

Keywords:

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก คือหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น อายุ 17-19 ปี จำนวน 66 คน ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสระบุรี ในเดือนมกราคม ถึงตุลาคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นของครอนบาคอัลฟาเท่ากับ .93 และ 92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน          ผลการวิจัยพบว่า การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 4.14, S.D. = 0.84 และ M=3.75, S.D. = 0.92 ตามลำดับ) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (r = .673, p < .01 ) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ครอบครัวและผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพวัยรุ่นควรให้การสนับสนุนวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ทุก ๆ ด้าน ได้แก่ อารมณ์ บริการและวัตถุ และข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งผลให้มีพฤติกรรมการส่งเสริม สุขภาพที่เหมาะสม           This research aimed to examine the relationships between social support and health promoting behavior among pregnant teenagers. A convenience sampling was used to recruit a sample of 66 pregnant teenagers who received prenatal care at Saraburi Hospital from January to October 2016. Research instruments included a demographic questionnaire, the social support’s scale and the health promoting behavior of pregnant teenagers’ questionnaire. Their Cronbach’s alpha reliabilities were .93 and .92, respectively. Data were analyzed by using frequency, per cent, range, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficients.           The results revealed that the total mean scores of social support and health promotion behavior among pregnant teenagers were at a high level (M= 4.14, S.D. = 0.84 and M=3.75, S.D. = 0.92, respectively). Social support was positively signify-cantly related to health promotion behavior among pregnant teenagers (r = .673, p < .01). These results suggest that family and related personnel who are responsible for adolescent health should provide support for all aspects of emotion, services and materials, and information to the pregnant teenagers. Consequently, adolescent pregnancy would have appropriate health promoting behavior.

Downloads