ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการ ของสมาชิกครอบครัวระยะรอผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก
Keywords:
ความต้องการ, สมาชิกครอบครัว, การตอบสนองความต้องการ, ระยะก่อนผ่าตัดต้อกระจกAbstract
การประเมินความต้องการและการได้รับ การตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการตอบสนองแก่สมาชิกครอบครัวได้ตรงความต้องการมากที่สุด การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกที่แผนกห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร เดือน เมษายน-มิถุนายน 2560 จำนวน 82 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยเลือกสมาชิกครอบครัวทุกรายที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกครอบครัวและผู้ป่วย และแบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัว ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .90 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่อิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโดยรวม(M = 2.46, SD = 0.37) และรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวโดยรวม (M = 1.63, SD = 0.50) และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความต้องการกับการได้รับตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัว พบว่า การได้รับตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า ความต้องการของสมาชิกครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งโดยรวม รายด้าน และรายข้อทุกข้อ ผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลที่เกี่ยวข้องในการดูแล ผู้ป่วยและครอบครัวที่ผ่าตัดต้อกระจก ควรพัฒนาระบบการพยาบาล เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกอย่างเหมาะสม Assessment of needs and responsiveness on those needs of family members’ patients during preoperative period are essential guidelines for nurses to provide the most responsive care to family members needs. The objectives of this study were to examine and to compare the needs and received need responses among family members while waiting for patients receiving glaucoma surgery. A convenience sample of 82 patients’ family members involving in cataract surgery at Sirindhorn hospital, Bangkok during April-June, 2017 participated in the study. Data were collected by using family members’and patients’ personal questionnaires. Cronbach’s alpha coefficients of the questionnaires were 90 and .96 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and paired t-test. Results showed that the overall needs (M = 2.46, SD = 0.37) and each aspect of family member needs were rated at high level. While overall need responsiveness (M = 1.63, SD = 0.50) and each aspect of need responsiveness were rated at moderate level. Results of comparisons found that needs responsiveness were statistical significance in average scores lower than those of needs scores of overall score, each of the aspect scores, and items scores. Findings of the study suggest that nurses involving in providing care for patients receiving glaucoma surgery should develop nursing care system and design new nursing interventions to respond appropriately to the needs of patients’ family members during the intra-operative period.Downloads
Issue
Section
Articles