ผลลัพธ์ของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
Keywords:
โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ, โรคข้อเข่าเสื่อม, การรับรู้ความรุนแรงของโรค, พฤติกรรมการป้องกันโรคAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลลัพธ์ของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับครูกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปปฏิบัติงานในโรงเรียนระดับประถมศึกษานครปฐมเขต 2 ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพฯ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยการให้ความรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองและปรับวิถีชีวิตเพื่อปกป้องข้อเข่า การฝึกทักษะกายบริหารบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า และการควบคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการกำกับติดตามช่วยเหลือทางโทรศัพท์ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรุนแรงอาการปวดเข่า และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .94 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนความรุนแรงของโรคลดลงและมีพฤติกรรมการป้องกันโรคสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครู กลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมนี้มีประสิทธิภาพพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในชุมชนและบุคลากรทางสุขภาพ ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคและให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น This quasi-experimental study aimed to study the effectiveness of health promoting program for teachers over 50 years old at risk of knee osteoarthritis who were working at schools in Primary Educational Service Area Office II Nakhon Pathom Province. A multi-stage random sampling was used to recruit the participants to be the experimental and the control groups with 30 participants for each group. Data collection was carried out from March to October 2015. Research instruments included the health promoting program with 6-week implementation consisted of a health education for promoting self-management and lifestyle modification to protect their knees, a training course for therapeutic exercise, and body weight controlling as well as a telephone follow-up. Moreover, a demographic questionnaire, the severity assessment for knee joint’s pain, and the knee osteoarthritis preventive behavior questionnaire were also used. Their reliabilities were .94 and .84, respectively. Descriptive statistics and t-test were used to analyze the data. The results revealed that after receiving the program, participants in the experimental group had statistically significant lower pain severity and higher preventive behavior scores than those in the control group (p < .01). These findings indicate that this health promoting program for teachers at risk of knee osteoarthritis is effective. Nurses, especially nurse practitioners in community, and healthcare providers should obtain this program to apply with people at risk in community to reduce the severity and improve preventive behavior for knee osteoarthritis.Downloads
Issue
Section
Articles