การปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในภาคตะวันออก

Authors

  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
  • อริสรา ฤทธิ์งาม
  • ชรัญญากร วิริยะ

Keywords:

การปฏิบัติบทบาท, พยาบาลวิชาชีพ, การสร้างเสริมสุขภาพ, ภาคตะวันออก

Abstract

          การศึกษาแบบบรรยายและเปรียบเทียบครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ และเปรียบเทียบการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ ของพยาบาลวิชาชีพตามปัจจัยส่วนบุคคล และระดับการบริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ จำนวน 2,104 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบกฎบัตรออตตาวา มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว          ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ตามกรอบกฎบัตรออตตาวาในภาพรวมพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านอยู่ระหว่าง 1.56-4.12 (SD = 1.38-3.34) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีมีการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพ ในการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งในภาพรวม (t = 2.487, p < .05) และรายด้านทุกด้าน และผู้ที่มีตำแหน่งบริหารมีการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่า ผู้ที่มีตำแหน่งปฏิบัติการ ทั้งในภาพรวมทุกด้าน (t = 2.165, p < .05) ด้านการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (t = 4.506, p < .001) และด้านการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (t = 2.665, p < .01) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารหรืออาจารย์พยาบาลควรพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการแสดงบทบาทตามกรอบกฎบัตรออตตาวา แก่พยาบาลที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะพยาบาลที่ดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน          The purpose of this descriptive comparative study was to examine role performance in health promotion and compare role performance of professional nurses in health promotion with difference in individual factors and level of health care services. A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 2,104 professional nurses from primary, secondary and tertiary levels of health care services. Research instruments contained self-report questionnaires of a demographic and the nursing role performance in health promotion in according to Ottawa charter with its Cronbach’s alpha reliability of .97. Data were analyzed by using descriptive statistics, Independent t-test and one-way ANOVA.          The results revealed that mean scores of role performance in health promotion of professional nurses in according to the Ottawa charter of each dimension were between 1.56 to 4.12 (SD = 1.38 - 3.34). Participants who completed educational level higher than a baccalaureate degree performed more than those completed educational level at a baccalaureate degree on health promotion, both overall (t = 2.487, p < .05) and subscales’ scores. Participants with administrative position performed health promotion more than those with practicum level, both overall scores (t = 2.165, p < .05) and 2 subscales’ scores of build healthy public policy (t = 4.506, p <.001) and create supportive environments (t = 2.665, p < .01). These findings indicate that nurse directors and instructors should develop a short-course training curriculum to enhance knowledge and understanding on health promotion and role performance in according to the Ottawa charter for nurses with bachelor degree and in practitioner level.

Downloads