ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลผู้รับบริการมุสลิม
Keywords:
สมรรถนะ, การพยาบาล, ข้ามวัฒนธรรม, พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, ผู้รับบริการมุสลิมAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลผู้รับบริการมุสลิม กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท ที่ได้รับวุฒิบัตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) และปฏิบัติงานในเขตภาคกลาง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 132 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การได้รับการอบรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ค่านิยมต่อวัฒนธรรมที่แตกต่าง สิ่งสนับสนุนเชิงนโยบายในการทำงาน และแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของแคมพินฮา บาโคท วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการศึกษาพบว่า ระดับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลผู้รับบริการมุสลิมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.85, SD = .31) ประสบการณ์หลังจบปริญญาโท ประสบการณ์หลังอบรมเวชปฏิบัติ และค่านิยมต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างมีความสัมพันธ์ทางบวก (rs = .99, p <.01, rs = .25, p < .01 และ rs = .23, p < .01 ตามลำดับ) และการอบรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนมีความสัมพันธ์ทางลบ กับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -2.28, p < .05) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมค่านิยมทางบวกต่อผู้ที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างให้กับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โดยเน้นการให้ความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการให้การดูแลผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม This study aimed to examine factors related to the transcultural nursing competence of nurse practitioners working with Muslim clients. A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 132 nurse practitioners who graduated either master or bachelor degree with a nurse practitioner certificate. Data were collected by self-report questionnaires composed of personal information, working experiences as a nurse, training experiences related to nurse practitioner competence, cultural diversity values, supporting policy in work place, and self-evaluation on transcultural nursing competences based on the Campinha - Bacote model. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman rank correlation, and the Mann-Whitney U-test. The results revealed that the total score of transcultural nursing competence of the nurse practitioners was at a moderate level (M = 2.85, SD = .31). Working experiences as a nurse after graduated a master degree, working experiences after completed a nurse practitioner certificate, and cultural diversity values were positively related (rs = .99, p < .01, rs = .25, p < .01, and rs = .23, p < .01, respectively), and training related to transcultural nursing competence of nurse practitioner was negatively related (Z = -2.28, p < .05) to transcultural nursing competences of the nurse practitioners. These findings suggest that cultural diversity values should be promoted to nurse practitioners should be the development of transcultural nursing competence of nurse practitioners by emphasizing on providing knowledge and awareness of the importance of giving care for clients with cultural diversity.Downloads
Issue
Section
Articles