การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน: กรณีศึกษานวัตกรรมการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Authors

  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล
  • สุรีย์รัตน์ ธนากิจ
  • นิสากร กรุงไกรเพชร
  • อริสรา ฤทธิ์งาม

Keywords:

การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, การสร้างเสริมสุขภาพ, นวัตกรรมการพยาบาล

Abstract

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน นวัตกรรมการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านโรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยใช้กรอบแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 25 คน ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2557 เก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสนทนากลุ่มเฉพาะ สัมภาษณ์เจาะลึก สังเกต บันทึกเสียงและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน มี 4 ระยะ ได้แก่ 1) ริเริ่มนโยบายกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อลดอัตราครองเตียง ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำ และลดค่าใช้จ่าย 2) การสร้างทีมงานการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน สร้างโรงพยาบาล 1 เตียงที่บ้าน พยาบาลสอนฝึกทักษะให้ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านได้เช่นเดียวกับได้รับการดูแลที่โรงพยาบาล โดยมี ทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมวางแผนการดูแลผู้ป่วย 3) การสร้างเครือข่ายการดูแล ได้แก่ กลุ่ม องค์กร อาสาสมัคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้งบประมาณสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย 4) ได้รูปแบบระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน มีธนาคารอุปกรณ์ มีระบบการประเมินสภาพผู้ป่วยให้การดูแลแบบองค์รวม พยาบาลประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน กลุ่ม องค์กรต่าง ๆ เกิดเป็นภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคลองใหญ่ โดยสามารถลดอัตราครองเตียง ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าเกณฑ์  ผลการวิจัยนี้พยาบาลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในพื้นที่อื่น ๆ ให้สอดคล้องกับบริหารงาน เครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอตามบริบทพื้นที่          This qualitative research aimed to analyze the process of the health promoting innovation for home ward patients’ care in the Khlong-Yai hospital, Trat province. The concept of health promotion, the Ottawa charter was applied for the study framework. A purposive sampling was used to recruit 25 informants from July to August 2014. Data were collected by using focus group, in-depth interviews, observation, voice recording, and related documents. Trustworthiness was ensured by triangulation method and content analysis technique was used to analyze the data.          The results revealed that the development process consisted of 4 stages. First, initiation of the policy aimed to reduce the hospital occupancy rate, the re-admission rate and costs. Second, formulation of the health care team was designed to organize a concept of one-bed hospital at home. The nurses primarily trained to caregivers who care for patients at home the same as at the hospital. Moreover, the care plan for home ward patients was called “grand round” which was organized by multidisciplinary team. Third, the care-team networking, such as helping groups, organization, volunteers, was created, which supported and funded by the local administrative organizations. Lastly, the home ward care model was developed. Medical equipment’ warehouse was established. The patient’s assessment system and the holistic care have also been operated. There were collaborations between nurses the local organizations, and other groups. Therefore, the networks for continuing health care activities have been spread throughout Khlong-Yai district. Consequently, the hospital occupancy and the re-admission rates were decreased. In addition, the complication rate of patients was lower than the criteria. These findings indicate that nurses could obtain to use for development of home ward care in other community setting congruence with the local health care district context.

Downloads