นวัตกรรม “คู่หูดูแลสุขภาพ” และหลักสูตรการเรียนรู้ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ: กรณีศึกษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่ง

Authors

  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ
  • สุธารัตน์ ชำนาญช่าง
  • สุรีรัตน์ คงสติ

Keywords:

การสร้างเสริมสุขภาพ, นวัตกรรม, คู่หูดูแลสุขภาพ, บทบาทของพยาบาล

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนนวัตกรรม “คู่หู ดูแลสุขภาพ” พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ และผลของการใช้หลักสูตร ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุข อาจารย์พยาบาล และพยาบาลวิชาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และนำผลที่ได้ไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริงและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามการสนทนาและสัมภาษณ์ คู่มือการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ แบบประเมินความคิดเห็นต่อการเรียนรู้ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ และบทบาทพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลประมาณใช้สถิติพรรณาและการทดสอบวิลคอกซอน          ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรม “คู่หู ดูแลสุขภาพ” พัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะกาง จังหวัดตราด มีการจัดกิจกรรมพัฒนาภาวะผู้นำและการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การจัดการความรู้ที่จัดทำอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ และการเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ของบุคลากรด้านสุขภาพ การใช้นวัตกรรมส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีภาวะโภชนาการเกินลดลง อัตราผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง และผู้ป่วยรายเก่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น ผลการพัฒนาหลักสูตรพบว่าผู้เรียนมีความรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และการเรียนรู้บทบาทของพยาบาลในการ สร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สามารถนำไปประยุกต์เพื่อดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพทาง การพยาบาลได้ ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรนำนวัตกรรม “คู่หู ดูแลสุขภาพ” ร่วมกับหลักสูตรการเรียนรู้ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ ไปใช้ในงานการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน เพื่อส่งผลต่อสุขภาพในทางบวกของประชาชนในพื้นที่          The purposes of this study were to learn from lesson of an innovation “Buddy care”, develop a learning course of health promotion strategies, and outcomes of the course implementation. Informants included staffs of a health promotion hospital, a head of local government, health volunteers, nursing instructors, and registered nurses. Data were carried out by using focus group discussion, in-depth interview, observation, and obtaining its finding to implement and evaluate in a real setting. Research instruments consisted of questions’ guideline for discussion and interview, handbook for learning, a health promotion knowledge test, an evaluation form for health promotion strategic issue studying, and nurse’s roles. Content analysis was used to analyze qualitative data, and quantitative data were analyzed by using descriptive statistics and Wilconxon test.          The results revealed that the innovation “Buddy Care” was developed in 2009 by Tambon Takang’s health promotion hospital, Trat province. There were activities, including leadership development and change management for health promotion, continuing knowledge management, health promotion networks development, and a good role model for Health promotion of health care personnel. Using of the innovation resulted in decreased overweightness among population in the setting, decreased incidence of people newly diagnosed with diabetes mellitus and hypertension patients, and increased known cases of patients being able to control blood sugar level and blood pressure. Outcomes of the Health Promotion Strategic Learning Course found that the learners have more knowledge about health promotion. Learning about roles of nurses for health promotion was at high to highest level, which they could apply for health promotion strategies. These findings suggest that community nurse practitioners and related personnel would obtain the innovation “Buddy Care” together with the learning course of health promotion strategies to utilize in the community health promotion. Consequently, people in the community setting could gain a better health.

Downloads