ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำ ในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย

Authors

  • สาวิตรี จีระยา
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์
  • เวทิส ประทุมศรี

Keywords:

โปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด, การรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำ, ผู้สูงอายุ, การรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย

Abstract

          การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยจากการประเมินโดยใช้ แบบประเมินพุทธิปัญญาและมีคุณสมบัติตามที่งานวิจัยกำหนด จำนวน 23 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 11 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนด้านความจำ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ          ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1,21 = 7.69, p < .05) และ ในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ด้านความจำในระยะติดตามผล 1 เดือน ( ค่าเฉลี่ย = 83.27, SD = 14.32) สูงกว่าระยะหลังการทดลอง ( ค่าเฉลี่ย = 79.41, SD = 16.58) และระยะก่อนการทดลอง ( ค่าเฉลี่ย = 57.23, SD = 24.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยแสดง ให้เห็นว่าโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดนี้มีประสิทธิภาพ พยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถ ประยุกต์โปรแกรมนี้เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของผู้สูงอายุ ในด้านความสามารถแห่งตนด้านความจำ           The purpose of this quasi-experimental research was to determine the effects of cognitive stimulation program on perceived memory self- efficacy among older adults with Mild Cognitive Impairment (MCI). The sample included 23 older adults residing in Panasnikom district, Chon Buri province who had MCI by using Montreal Cognitive Assessment (MoCA) for screening and met the study inclusion criteria. Participants were randomly assigned into the experimental group (n=11) and the control group (n=12). Participants in the experimental group received the intervention program for 8 sessions, 2 sessions per week, while those in the control group received only usual care. Data collection was carried out from April to June 2017. Research instrument was the Memory Self-Efficacy Questionnaire-4 (MSEQ-4) with Cronbach’s alpha of .96. Descriptive statistics, Independent t-test, and repeated measures ANOVA were used for data analyses.           The results revealed that the mean score of perceived memory self-efficacy in the experimental group were greater than those in the control group (F1,21 = 7.69, p < .05). Within the experimental group, the mean score of perceived memory self-efficacy at 1-month follow-up ( average = 83.27, SD = 14.32) was significantly higher than at post-test ( average = 79.41, SD = 16.58), and at pre-test ( average = 57.23, SD = 24.17). The study findings indicate that this cognitive stimulation program was effective. Nurses and relatedhealth care providers could utilize this cognitive stimulation program to enhance older adults’ perception towards their memory self-efficacy.

Downloads