การเปรียบเทียบผลระยะสั้นของเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงเพื่อรักษา เทียบกับเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำต่อระดับอาการปวด และช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า ในโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ: การศึกษานำร่อง

Authors

  • อาหะมะ ดะเซ็ง
  • จิรภัทร์ รักราวี
  • จุฑามาศ จิตเจือจุน
  • พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร
  • คุณาวุฒิ วรรณจักร

Keywords:

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ, เครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียง, เครื่องผลิตแสงเลเซอร์, กายภาพบำบัด

Abstract

          การศึกษาแบบกึ่งทดลองสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลระยะสั้น ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงกับการรักษาด้วยเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำต่อระดับอาการ ปวดบริเวณฝ่าเท้า ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และประสิทธิภาพการทำงานของเท้าในโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ทำการศึกษาในอาสาสมัคร 10 คน ได้รับการรักษานาน 2 สัปดาห์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือรักษาด้วยเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงเพื่อการรักษา (5 คน) และรักษาด้วยเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำ (5 คน)          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม เมื่อ เทียบภายในกลุ่มภายหลังได้รับการรักษานาน 2 สัปดาห์ มีอาการลดปวดฝ่าเท้า เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเท้ามากกว่าก่อน การรักษา (p < .05) ยกเว้นกลุ่มรักษาด้วยเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำที่ไม่เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวในการกระดกข้อเท้า และไม่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเท้า (p > .05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ทั้งสองวิธีสามารถ เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของเท้าได้ไม่แตกต่างกัน (p > .05) แต่กลุ่ม ตัวอย่างในกลุ่มที่รักษาด้วยเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงที่มี อาการปวดฝ่าเท้า ลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายหลังการรักษา (p < .05) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะ ว่าการรักษาด้วยเครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียงเพื่อการรักษา และการรักษาด้วยเครื่องผลิตแสงเลเซอร์กำลังต่ำสามารถ เป็นตัวเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เพื่อลดอาการปวด เพื่อองศาการเคลื่อนไหว และ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเท้าได้หลังจากการติดตามผล 2 สัปดาห์          The purpose of this quasi-experimental two-group pretest-posttest study was to compare the short term effect between ultrasound therapy and low power laser on pain, ankle joint range of motion, and foot functional capacity in plantar fasciitis. Ten participants with plantar fasciitis were randomly allocated into 2 groups of either the ultrasound therapy (5 persons) or the low power laser therapy (5 persons) for a 2-weeks treatment.          The result showed that participants in both groups (within groups after treatment for 2 weeks) were statistically significantly more decreased in plantar pain, and more increased range of motion of ankle joint and foot functional capacity (p < .05) than before the treatments. Except for the low power laser therapy, it was not increased in ankle dorsiflexion and foot functional capacity (p > .05). When comparing between two groups, there were no significant difference in increasing range of motion and foot functional capacity (p > .05). However, participants in the ultrasound therapy group has shown moreadvantage in decrease plantar pain (p > .05). In conclusion, these results suggest that the ultrasound therapy or low power laser can be an alternative choice to treat patients with plantar fasciitis to improve pain, range of ankle joint motion and foot functional capacity at 2 weeks follow up.

Downloads