อิทธิพลของการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ และทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์

Authors

  • ศิรินภา แก้วพวง
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • วรรณทนา ศุภสีมานนท์

Keywords:

สตรีตั้งครรภ์, พฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์, การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ทัศนคติ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรม การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์และอิทธิพลของการรับรู้ ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับ การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อม ก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คือสตรีตั้งครรภ์แรกที่มารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลศรีสะเกษจำนวน 109 ราย ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของ การตั้งครรภ์ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเตรียม ความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .76 - .89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ ถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน          ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเตรียมความพร้อม ก่อนตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 6.7, SD = 2.5, คะแนนเต็ม = 16) พฤติกรรมการเตรียมความพร้อม ก่อนตั้งครรภ์ที่มีการปฏิบัติมากคือ การไม่ใช้สารเสพติด (ร้อยละ 91.7) และพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติน้อย คือ การรับประทานกรดโฟลิก (ร้อยละ 3.7) การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรม การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ได้ ร้อยละ 17.8 (Adjusted R2 = .155, F2,108 = 7.58, p < .001) การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์มีอิทธิพล มากที่สุด (β = .292, p < .01) รองลงมาคือความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ (β = .263, p < .05) ผลการวิจัยเสนอแนะว่าบุคลากรทางสุขภาพ ควรมีการรณรงค์ให้สตรีมีการรับรู้ถึงโอกาสเกิดภาวะเสี่ยง ของการตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม ก่อนตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้สตรี มีการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อเตรียมตนเองให้พร้อมก่อน ตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง           The objectives of this research were to examine preconception health behaviors and determine influencing of perception of pregnancy risk, knowledge and attitude toward Preconception care (PCC) on preconception health behaviors among pregnant women. A simple random sampling technique was used to recruit 109 pregnant women who visited antenatal care clinic at Si SaKet hospital from July to September, 2017. Self-report questionnaires of perception of pregnancy risk, knowledge and attitude toward PCC, and preconception health behaviors were used to collect data. Their reliability ranged from .76-.89. Data were analysed by using descriptive statistics and standard multiple regression analysis.          The results showed that the overall preconception health behaviours were at a low level (average = 6.7, SD = 2.5, total score = 16). Preconception health behaviour that mostly practiced was no substance abused (91.7%), and the behaviour that was least practiced were folic acid intake (3.7%). Perception of pregnancy risk, knowledge and attitude toward PCC accounted for 17.8% of variance prediction (Adjusted R2 = .155, F2,108 = 7.58, p < .001). Perceived risk of pregnancy had the greatest influence (β = .292, p < .01), and followed by knowledge toward PCC (β = .263, p < .05). These Findings suggest that health care providers should campaign to promote women’s perception of pregnancy risk, knowledge toward PCC, and organize activities to increase the practice of preconception health behavior among women.

Downloads