ผลของการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความทุกข์ทรมาน จากการเจ็บครรภ์คลอด การเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด และความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก

Authors

  • ชาลินี เจริญสุข
  • สุพิศ ศิริอรุณรัตน์
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี

Keywords:

ระยะคลอด, ความทุกข์ทรมาน, การเผชญิการเจ็บครรภ์คลอด, ความพึงพอใจต่อประสบการณ์ การคลอด

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด การเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด และความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกที่มารับบริการการคลอด ที่ห้องคลอด จำนวน 50 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดแบบสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน กลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุน ในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ประเมินโดยใช้แบบวัดความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์ แบบวัด การเผชิญการเจ็บครรภ์ และแบบวัดความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบทีแบบสองกลุ่ม เป็นอิสระ          ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อ ประสบการณ์การคลอดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคมุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ความทุกข์ทรมาน และการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลห้องคลอดสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนผู้คลอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอด เกิดความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอด          This quasi-experimental research aimed to examine effects of labor support by a female relative on suffering from labor pain, coping with labor pain, and satisfaction with childbirth experience. A convenience sampling was used to recruit a sample of 50 primiparous paturients who met the study inclusion criteria. They were assigned into an experimental group and a control group for 25 in each group equally. The paturients in the experimental group received both labor support by a female relative and the regular nursing care, whereas those in the control group received only regular nursing care. Research instruments included the suffering from labor pain’s scale, the coping with labor pain’s scale, and the satisfaction with childbirth experiences questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics, frequency, mean, standard deviation, chi-square test, and Independent t-test.          The results revealed that the mean score of satisfaction with childbirth experiences of participants in the experimental group was significantly higher than those in the control group (p < .05). However, the mean scores of suffering from labor pain and coping with labor pain were found no difference. These findings suggested that midwifes should utilize this labor support by a female relative to take care of the parturients in order to promote satisfaction with childbirth experiences.

Downloads