ผลของโปรแกรมการพยาบาลในระยะเปลี่ยนผ่านต่อความมั่นใจ ในบทบาทของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต

Authors

  • จันทรวดี สพานทอง
  • เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์
  • ทิพมาส ชิณวงศ์

Keywords:

โปรแกรมการพยาบาล, ญาติผู้ดูแล, ผู้ป่วยสูงอายุ, ความมั่นใจในบทบาท, หอผู้ป่วยวิกฤต

Abstract

          การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการพยาบาลในระยะเปลี่ยนผ่านต่อความมั่นใจในบทบาทของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ระยะย้ายออกจาก หอผู้ป่วยวิกฤต กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดสงขลา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตาม คุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 50 รายโดย 25 รายแรก เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และ 25 รายหลัง เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับ โปรแกรมการพยาบาลในระยะเปลี่ยนผ่าน วันละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30-40 นาทีเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความมั่นใจในบทบาทมีค่า ความเชื่อมั่น .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง แบบวัดซ้ำ          ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจใน บทบาทในระยะหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมากกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ในกลุ่มทดลองคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในบทบาทหลังการทดลอง ทั้งสองครั้งมากกว่าก่อนการทดลอง (p < .05) แต่คะแนน เฉลี่ยความมั่นใจในบทบาทหลังการทดลองระหว่างครั้งแรกและครั้งที่สองไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะ ว่าพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ใน การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต โดยเฉพาะในผู้ป่วยผู้สูงอายุ          This quasi experimental research aimed to examine effects of transition nursing program on role confidence among caregivers of elderly patients during transferred from an intensive care unit. A convenience sampling was used to recruit 50 family caregivers of aging patients who were admitted to the intensive care unit in a tertiary hospital, Songkla province. The first 25 participants were assigned to the control group receiving usual care and the rest was assigned to the experimental group who receiving usual care together with the transition nursing program twice a day, 30 to 40 minutes each time, for three consecutive days. Research instruments included a demographic questionnaire and the caregivers’ role confidence questionnaire. Its reliability was .81. Data were analyzed using descriptive statistics, t-test and two-way repeated measures ANOVA.          The results showed that the means score of the role confidence at post intervention in the experimental group were significantly more than those in the control group (p < .001). Within the experimental group, the mean score of the role confidence at post intervention both times were significantly more than the scores at a pretest (p < .05). However, the mean score of the role confidence at post intervention between two times was not different. These findings suggest nurses who work in intensive care units should utilize this program in nursing practice to promote transition from the intensive care unit, especially in aging patients.

Downloads