อิทธิพลของการได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคต่อพฤติกรรม การเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์

Authors

  • จารุวรรณ จันทร์แจ้ง
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • วรรณทนา ศุภสีมานนท์

Keywords:

สามีของสตรีตั้งครรภ์, พฤติกรรม, การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์, การได้รับข้อมูล, การรับรู้, ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม การเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ และอิทธิพลของการได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน ์และการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามี ก่อนภรรยาตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก จำนวน 85 ราย คือสามีของสตรีตั้งครรภ์แรกที่ภรรยามารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรค การได้รับข้อมูล และพฤตกิรรมการเตรียมความพร้อม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 .79 .74 และ .87 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ          ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเตรียมความพร้อม ของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.47 (SD = 2.2) ซึ่งอยู่ในระดับดี พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การงดหรือลดใช้สารเสพติด (ร้อยละ 95.3) และพฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยที่สุดคือ การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (ร้อยละ 34.1) การได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อม ของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 19.9 (R2  = .199, F3,81 = 6.72, p < .01) ปัจจัยทำนายปัจจัยเดียวที่มีนัยสำคัญทางสถิติคือการได้รับข้อมูลจากหลายแหล่งเกี่ยวกับการเตรียม ความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ ์(β = .29, p < .01) พยาบาลที่ให้การดูแลสุขภาพของคู่สมรสก่อนภรรยาตั้งครรภ์ ควรให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลแก่สามีเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนภรรยาตั้งครรภ์          The purpose of this research is to examine health behavior preparedness of pregnant women’s husbands and determine influencing of information received, and perceived benefits and barriers on health behavior preparedness of pregnant women’s husbands. A convenience sampling was used to recruit 85 husbands of preconception women, of which attended antenatal clinic at a private hospital. Data collection was carried out by using questionnaires of a demographic data, the perceived benefits, the perceived barriers, the information received, and the health behavior preparedness. Their reliabilities were .72, .79, 74, and .87, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistic and standard and multiple regression analysis.          The results showed that the sample had mean score of health preparatory behavior of 6.47 (SD = 2.2), which was at a high level. The most practical behavior was abstinence of addictive substances (95.3%), and the least was received Hepatitis B vaccination (34.1%). Information received and perceived benefits and barriers were together accounted for 19.9% of variance prediction of health preparatory behaviors of the husbands (R2 = .199, F3,81 = 6.72, p < .01). The only significant predictor was Information received from various sources about preparatory behavior of husband before his wife became pregnant (β = .29, p < .01). Nurses who are responsible for caring health of a couple before having pregnant should pay more attention on giving related information to husbands for preparedness for preconception.

Downloads