ความเชื่อตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และพฤติกรรม การดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา

Authors

  • ศศิธร โพธิ์ชัย
  • พวงผกา คงวัฒนานนท์
  • วนลดา ทองใบ

Keywords:

หญิงตั้งครรภ์, แรงงานข้ามชาติ, ความเชื่อตามวัฒนธรรม, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบพรรณนา มีวัตถุประสงคเ์พื่อ ศึกษาความเชื่อตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยการสุ่มแบบ หลายขั้นตอน เป็นหญิงชาวกัมพูชาที่มารับบริการฝากครรภ์ ในโรงพยาบาล จังหวัดสระแก้ว จำนวน 180 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ความเชื่อตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิแอลฟาครอนบาค เท่ากับ .73 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว          ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 45.11 (SD = 0.14) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 (SD = 0.22) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ผู้ที่พำนักในประเทศไทย 13 เดือนขึ้นไป มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพมากกว่าผู้ที่พำนักในประเทศไทยน้อยกว่า หรือเท่ากับ 12 เดือน (p <. 05) ผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เลย มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพน้อยกว่าผู้ที่ สามารถสื่อสารภาษาไทยระดับดีมาก ระดับดี และระดับน้อย (p < .05) และผู้ที่มีความเชื่อตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ระดับน้อย มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ มากกว่าผู้ที่มีความเชื่อตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ระดับปานกลางและมาก (p < .05) แต่อายุ และจำนวนครั้งที่ตั้งครรภ์แตกต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ไม่แตกต่างกัน (p > .05) พยาบาลหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ด้านสุขภาพควรส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพใน หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มี ระยะเวลาอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 เดือน ผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ และผู้ที่มีความเชื่อตามวัฒนธรรมเดิมอยู่มาก          The purpose of study was to examine cultural beliefs regarding pregnancy and healthcare behaviors of Cambodian pregnant migrant laborers. A multi-stage random sampling was used to recruit 180 Cambodian women who received antenatal care services in Sa Kaeo Province. Data were carried out from August 2016 to March 2017. Research instruments were interviews, including a demographic questionnaire, the pregnant women’s healthcare behavior, and the cultural beliefs regarding pregnancy questionnaire. Their Cronbach’s alpha reliabilities were .73 and .78, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, Independent t-test, and One-way ANOVA.          The results revealed that the sample had mean score of cultural beliefs regarding pregnancy at moderate level (M = 45.11, SD = .14) and the healthcare behaviors at moderate level as well (M = 3.32, SD = .22). The participants who lived in Thailand ≥13 months had healthcare behaviors more than who lived in Thailand ≤ 12 months (p < .05). The participants who cannot communicate in Thai language at all had healthcare behavior lower than who can communicate in Thai language all level (p < .05). The participants with low level of cultural beliefs about pregnancy had healthcare behaviors more than others with high level of cultural beliefs (p < .05). However, the aged sample and parity had no difference of healthcare behaviors (p > .05). Nurses or health care providers should promote healthcare behaviors of pregnant migrant laborers, especially who live in Thailand less than 12 months, cannot communicate in Thai language, and had high cultural beliefs.  

Downloads