Predicting Factors of Depression among Persons with Chronic Medical Illness in Bhutan ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังในประเทศภูฏาน

Authors

  • Yezer Tshomo
  • Nujjaree Chaimongkol
  • Pornpat Hengudomsub
  • นุจรี ไชยมงคล
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์

Keywords:

ภาวะซึมเศร้า, โรคเรื้อรัง, การสนับสนุนทางสังคม, กิจกรรมทางกาย, ประเทศภูฏาน, Depression, chronic medical illness, social support, physical activity, Bhutan

Abstract

          This predictive study aimed to determine the factors associated with depression including age, gender, income, duration of illness, number of medical illness, physical activity, and social support among persons with chronic medical illness in Bhutan. A simple random sampling technique was conducted to recruit 120 adults diagnosed with chronic medical illness in a hospital, Bhutan. Data were carried out from March to April 2018. Research instruments were self-report questionnaires, including a demographic, the patient health, the global physical activity, and the medical outcomes study social support survey. Their reliability ranged from .88-.93. Descriptive statistics and Stepwise multipleregression analysis were used to analyze the data.          Prediction analysis revealed 35.3% variance in the prediction of depression from five significant predictors. The best predictor was gender (male) (β = -.242), followed by age (β = -.218), physical activity (β = -.229), social support (β = -.202), and duration of chronic medical illness (β = -.168). These findings suggest that nurses and related health care providers could utilize to plan and develop an activity or intervention to lessen depression in persons with medical chronic illness by promoting social support and physical activity focusing on female, young and newly diagnosed patients.          การวิจัยแบบทำนายครั้งนี้มีวัตถุปุระสงคเ์พื่อศึกษา ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุ เพศ รายได้ ระยะเวลาการป่วย จำนวนโรคเรื้อรัง กิจกรรมทางกาย และการสนับสนุนทางสังคม ในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังในประเทศภูฏาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายคือ ผู้ใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคเรื้อรัง และมารับการรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาล ประเทศภฏูาน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่ให้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง ได้้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย กิจกรรมทางกายทั่วไป และการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .88-.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน          ผลการวิจัยพบว่ามี 5 ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทำนายได้ร้อยละ 35.5 ปัจจัยทำนายที่ดีที่สุดคือเพศ (ชาย) (β = -.242) รองลงมาคืออายุ (β = -.218) กิจกรรมทางกาย (β = -.229) การสนับสนุนทางสังคม (β = -.202) และระยะเวลาที่ป่วย (β = -.168) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนและพัฒนากิจกรรมหรือโครงการส่งเสริม การสนับสนุนทางสังคมและกิจกรรมทางกาย เพื่อช่วยลด ภาวะซึมเศร้าในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยเน้นในกลุ่มเพศหญิงอายุน้อย และผู้ป่วยรายใหม่

Downloads