ความกลัวการหกล้ม: กลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และบทบาทของพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

Authors

  • วะนิดา น้อยมนตรี

Keywords:

ความกลัวการหกล้ม, การหกล้ม, ผู้สูงอายุ, กลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ, หลักฐานเชิงประจักษ์

Abstract

          ความกลัวการหกล้มเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในประชากรผู้สูงอายุ และเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ความกลัวการหกล้มในระดับที่มากเกินไป ในผู้สูงอายุสามารถนำไปสู่การจำกัดกิจวัตรประจำวัน การแยกตัวไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมถอยสมรรถภาพทางร่างกาย หรือภาวะทพุพลภาพตามมา ผู้สูงอายุบางรายอาจมีภาวะซึมเศร้า และทำให้ความพึงพอใจในชีวิตลดลง พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการคัดกรอง และให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีความกลัว การหกล้มโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ บทความนี้ผู้เขียน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัญหาความกลัวการหกล้มซึ่งเป็น ปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุแต่ยังขาดการจัดการเพื่อลดปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง จากบุคลากรทางสุขภาพเท่าที่ควร และเพื่อกระตุ้นให้พยาบาลเห็นความสำคัญ ในการประเมินความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุ และให้การพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์          Fear of falling is a major public health problem in older population.  It is one of the common geriatric syndromes. Excessive fear in older adults can lead to restriction of daily activities and social isolation which further lead to physical deconditioning and disability. Some older adults may have depression and decreased life satisfaction due to fear of falling. Nurses have a crucial role in screening and providing care for older adults who have fear of falling based on evidence-based practice. In this article, the author aims to present the fear of falling problem as one of the common geriatric syndromes frequently found in older adults; however, this problem is not properly managed by health care professionals as it should be. The author also aims to call nurses’ attentions to assess and provide nursing care for older adults with fear of falling based on evidence-based practice.

Downloads