ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้รับบริการชาย

Authors

  • จารุวรรณ ไชยบุบผา
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์

Keywords:

โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ, การรับรู้, สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมในการเลิกบุหรี่, ผู้รับบริการชาย

Abstract

          การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนและพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย ที่มารับบริการเลิกบุหรี่ที่โรงพยาบาลท่าตะเกียบ จำนวน 30 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่และกิจกรรมตามปกติของโรงพยาบาล ส่วนกลุ่ม ควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติของโรงพยาบาลเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนต่อพฤติกรรมเลิกสูบบุหรี่ และแบบวัดพฤติกรรม การเลิกบุหรี่ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .86 และ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบที วิเคราะห์การแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่ แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ทั้งในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และ ระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ สมรรถนะแห่งตนและคะแนนพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่ ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน สูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .001) โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจนี้ มีประสิทธิภาพ ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำ โปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการลดและเลิกสูบบุหรี่ได้          The purpose of this quasi-experimental study is to examine the effects of motivational enhancement program on smoking cessation of perceived self-efficacy and behavior among male clients of Tatakiab hospital. A simple random sampling was used to recruit a sample of 30 male smokers who met the study inclusion criteria. They were randomly assigned into the experimental (n = 15) and the control (n = 15) groups. The experimental group received motivational enhancement program plus regular program of the hospital, while the control group received only regular program. Research instruments included a demographic questionnaire, the perceived self-efficacy for smoking cessation questionnaire and the smoking cessation behaviors questionnaire. These scales yielded Cronbach’s alphas of .86 and .93. Descriptive statistics, independent t-test, two way repeated measure ANOVA and pairwise comparison test using Bonferroni method were employed for data analyses.          The results revealed that the mean scores of perceived self-efficacy and smoking cessation behaviors between the experimental and control groups at post-test and 1 month follow-up were significantly different (p < .001). The mean scores of perceived self-efficacy and smoking cessation behaviors in the experimental group at pre-test was significantly lower than those at post-test and follow-up phases (p < .001). The findings supported the effectiveness of this motivational enhancement program. Health personnel could apply this program to assist the clients in order to reduce and stop smoking.

Downloads