ผลของโปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บของฝีเย็บต่อระดับการฉีกขาด และความปวดของฝีเย็บจากการคลอด

Authors

  • สมาพร แสงนวล
  • พิริยา ศุภศรี
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี

Keywords:

โปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บของฝีเย็บ, ระดับการฉีกขาด, ความปวด, การคลอดบุตร

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง การทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ป้องกันการบาดเจ็บของฝีเย็บต่อระดับการฉีกขาดและ ความปวดของฝีเย็บจากการคลอด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือก แบบสะดวกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 60 ราย เป็นผู้คลอดในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี กลุ่มควบคุมจำนวน 30 ราย ได้รับการดูแลฝีเย็บแบบเป็นกิจวัตร และกลุ่มทดลองจำนวน 30 รายได้รับโปรแกรมป้องกัน การบาดเจ็บของฝีเย็บ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือโปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บของฝีเย็บ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับการฉีกขาด ของฝีเย็บมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และแบบประเมิน ความปวดของฝีเย็บมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบ Chi-square และ Independent t-test          ผลการวิจัยพบว่า ผู้คลอดในกลุ่มทดลองมีระดับ การฉีกขาดของฝีเย็บน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (χ2 = 20.00, p < .001) แต่ความปวดของฝีเย็บ ไม่แตกต่างกัน (p > .05) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บฝีเย็บนี้มีประสิทธิภาพ พยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยให้ผู้คลอด มีอัตราการฉีกของฝีเย็บลดลง          This quasi-experimental two-group posttest only design aimed to examine effects of the perineal trauma protection program on the degree of perineal tear and perineal pain from childbirth. A convenience sampling was used to recruit a sample of 60 participants who gave birth in a hospital, Chon Buri province. There were 30 participants in the control group received routine perineal care whereas the other in the experimental group received the perineal trauma protection program. Data collection was carried out from February to March 2018. Research instruments included the perineal trauma protection program, a demographic questionnaire, the degree of perineal tear evaluation’s record form with its reliability of .92, and the perineal pain scale with its reliability of 1.00. Data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square test and independent t-test.          The results revealed that in the experimental group, the degree of perineal tear was significantly less those in the control group (χ2 = 20.00, p < .001). However, the perineal pain between the experimental and the control groups was not significantly different (p < .05). These findings indicate that the perineal trauma protection program is effective. Nurses/midwives can utilize to decrease the incident of perineal tear form childbirth among parturients.

Downloads