ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของคนวัยกลางคน
Keywords:
พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคเรื้อรัง, แบบแผน, ความเชื่อด้านสุขภาพ, คนวัยกลางคนAbstract
การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของคนวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 480 คน คัดเลือกโดยวิธี การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นผู้ที่มีอายุ 40-59 ปี ที่ไม่เคย ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคเรื้อรัง อาศัยอยู่ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ตอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกัน โรคเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 (SD = 0.43) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกัน โรคเรื้อรัง ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ (b = .16), การรับรู้ อุปสรรค (b = -.15), การได้รับความรู้จากหนังสือพิมพ์ (b = .08 ), วิทยุ (b = -.05), ญาติ (b = .12), เพื่อนสนิท (b = -.08), อายุ (b = .01), เพศชาย (b = -.11), และ กลุ่มโซเชียลมีเดีย (b = .04) ญาติเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังมากที่สุด (β = .31) ปัจจัยทั้ง 9 สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกัน โรคเรื้อรังได้ร้อยละ 33.30 ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะ ว่าพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขสามารถนำผล การวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ในการเป็นแนวทางจัดกิจกรรมที่ มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรัง ของคนวัยกลางคน This predictive research aimed to determine predicting factors of preventive behavior for chronic illness among middle-aged persons. A multi-stage random sampling was used to recruit 480 participants with their age between 40-59 years, who had never been diagnosed with any chronic illness, and currently reside in Khet Nong Chok, Bangkok. Research instruments were self-report questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The results showed that the participants had their mean score of preventive behavior for chronic illness at a moderate level with a mean of 3.49 (SD = 0.43). The predictors of preventive behavior for chronic illness were perceived benefits (b = .16), perceived barriers (b = -.15), received information from newspapers (b = .08), radio (b = -.05), cousins (b = .12), buddy (b = -.08), age (b = .01), male (b = -.11), and social media (b = .04). The information from cousins was the most influential factor (β = .31). All 9 predictors accounted for 33.30% in explanation the preventive behaviors for chronic illness. These findings suggest that nurses and health personnel could utilize to be a guideline for develop effective activities to promote preventive behavior for chronic disease among middle-aged persons.Downloads
Issue
Section
Articles