ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ ที่เคยสูญเสียบุตร
Keywords:
ความวิตกกังวล, การสนับสนุนทางสังคม, หญิงตั้งครรภ์, เคยสูญเสียบุตรAbstract
การวิจัยครั้งนี้แบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ที่เคยสูญเสียบุตร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวกจำนวน 111 ราย เป็น หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติการสูญเสียบุตรจากการตั้งครรภ์ และการคลอด ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาล 3 แห่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรวมรวมข้อมูลเดือนมกราคม-มีนาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประวัติทางสูติกรรม แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .82-.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.5 และ 23.5 มีความวิตกกังวลในระดับปานกลาง และระดับสูง ตามลำดับการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบ กับความวิตกกังวลขณะเผชิญอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (r = -.22, p < .05) ตัวแปรอื่น ได้แก่ อายุครรภ์ของการสูญเสียบุตรในครรภ์ที่ผ่านมา ระยะห่างระหว่าง การตั้งครรภ์ครั้งที่แล้ว อายุครรภ์ปัจจุบัน และการมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ไม่พบมีความสัมพันธ์ ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้พยาบาลในหน่วยให้บริการ ฝากครรภ์ มีการประเมินความวิตกกังวลในหญิงตั้งครรภ์ ที่เคยสูญเสียบุตร และให้การพยาบาลโดยส่งเสริมให้ครอบครัว เพื่อน และบุคคลรอบข้างของหญิงตั้งครรภ์ ให้การสนับสนุนทางสังคมแก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อลดระดับ ความวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์ในครรภ์ปัจจุบัน The purpose of this descriptive correlational research was to examine factors related to the anxiety of pregnant women with a history of pregnancy loss. A convenience sampling was used to recruit 111 pregnant women with a history of pregnancy loss during pre- and natal periods attending antenatal care clinics of 3 hospitals, Suphan Buri province. Data were collected from January to March 2018. Research instruments included a demographic questionnaire, the obstetric history questionnaire, the Multi-dimensional Scale of Perceived Social Support, and the State–Trait Anxiety Inventory. Their reliability ranged between .82-.95. Descriptive statistics, Pearson’s and Point biserial correlations were used to analyze the data. The results showed that 49.5 % and 23.5% of the total sample had a moderate and a high level of anxiety, respectively. Social support was significantly negatively correlated with the anxiety (r = -.22, p < .05). However, other factors, including, gestational age of previous pregnancy loss, interpregnancy interval, gestational age of current pregnancy and obstetrical complication were no correlation. These findings suggest that nurses in antenatal care unit should assess anxiety in pregnant women who had a history of pregnancy loss and provide nursing care by enhancing social support from family, friends and other networks for pregnant women in order to decrease anxiety during current pregnancy.Downloads
Issue
Section
Articles