Factors Influencing Substance Use among Adolescents in a Higher Secondary School in Thimphu, Bhutan

Authors

  • Pema Choden
  • Pornpat Hengudomsub
  • Wannee Deoisres
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

การใช้สารเสพติดในวัยรุ่น, การใช้สารเสพติดในครอบครัว, การใช้สารเสพติดในเพื่อน, ความสัมพันธ์กับเพื่อน, การปฏเิสธการใช้สารเสพติด, ความมุ่งมั่นในการเรียน Adolescent substance use, family drug use, peer drug use, peer connectedness

Abstract

          This predictive correlation study aimed to examine adolescent substance use and its influencing factors including peer drug use, family drug use and misbehaviors, perceived substance refusal self-efficacy, peer connectedness, school commitment and impulsivity. Data were collected from 420 students studying in grade 9-12, in one of the higher secondary schools in Thimphu, Bhutan. The sample was selected through a multi-stage random sampling. Demographic questionnaire, Community That Care Youth Survey, Drug Taking Confidence Questionnaire, Positive Peer Influence Questionnaire and Barratt Impulsive scale were used to collect data. Descriptive statistics and multiple regression analysis were used for data analyses.          The study results found a moderate level of substance use (M = 24.40; SD = 8.40). Common drug use included tobacco, cigarette and alcohol. Peer drug use, family drug use and misbehaviors, perceived substance refusal self-efficacy, school commitment, peer connectedness and impulsivity accounted for 66 % of the variance in substance use (R2 = 66, F6, 413 = 131.74, p < .001). Peer drug use was the strongest predictor (β = 0.48), followed by substance use refusal self-efficacy (β = -0.22), family drug use and misbehaviors (β = 0.14), school commitment (β = -0.13) and peer connectedness (β = -0.10). Impulsivity did not significantly predict substance use. The study findings shed additional light on adolescent substance use and its influencing factors. In preventing and reducing substance use, peer drug use, perceived substance use refusal self- efficacy, family drug use and misbehaviors, peer connectedness and school commitment should be considered.            การวิจัยแบบความสัมพันธ์และทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารเสพติดและปัจจัยทำนาย การใช้สารเสพติดได้แก่ การใช้สารเสพติดในเพื่อน การใช้สารเสพติดและการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในครอบครัว การรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธการใช้สารเสพติด ความสัมพันธ์กับเพื่อน ความมุ่งมั่นในการเรียน และพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเกรด 9 ถึง 12 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่งของเมืองทิมพู ประเทศภูฏูานจำนวน 420 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสำรวจการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชมุชน แบบวัดการใช้สารเสพติดในเพื่อน แบบวัดความมั่นใจเกี่ยวกับการไม่ใช้สารเสพติด แบบวัดการใช้สารเสพติด และการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในครอบครัว แบบวัดความสัมพันธ์กับเพื่อน และแบบวัดพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ของ Barratt วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ การถดถอยพหุคูณ          ผลการศึกษาพบว่าการใช้สารเสพติดของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง (M = 24.40, SD = 8.40) พบการใช้ยาสูบ บุหรี่ และแอลกอฮอล์มากที่สุด ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่ศึกษาสามารถร่วมกันทำนาย ความแปรปรวนของการใช้สารเสพติดได้ 66% (R2 = .66, F6, 413 = 131.74, p < .001) อิทธิพลของตัวแปรเรียงจากสูงไปต่ำคือ การใช้สารเสพติดในเพื่อน (β = 0.48) การรับรู้ ความสามารถในการปฏิเสธการใช้สารเสพติด (β = -0.22) การใช้สารเสพติดและการมีพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมในครอบครัว (β = 0.14) ความมุ่งมั่นในการเรียน (β = -0.13) และความสัมพันธ์กับเพื่อน (β = -0.10) พฤติกรรมหุนหัน พลันแล่นไม่พบมีอิทธิพล ผลการวิจัยทำให้ทราบถึง การใช้สารเสพติดและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติด ในวัยรุ่นที่ศึกษา ในการป้องกันและลดการใช้สารเสพติด ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีอิทธิต่อการใช้สารเสพติด ได้แก่การใช้สารเสพติดในเพื่อน การรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธการใช้สารเสพติด การใช้สารเสพติดและ การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในครอบครัว ความมุ่งมั่นในการเรียน และความสัมพันธ์กับเพื่อน

Downloads