ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Authors

  • สิริวรรณ สุวรรณรัตน์
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

การมีส่วนร่วมของมารดา, เด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, ยาเคมีบำบัด, สมรรถนะแห่งตนของมารดา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วย กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว อายุแรกเกิดถึง 15 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด จำนวน 84 ราย คัดเลือกแบบสะดวก รวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใ่ช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ของมารดาและเด็กป่วย แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของมารดา แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนของมารดา แบบสอบถามการสื่อสารระหว่างมารดากับพยาบาล และแบบสอบถามการสนับสนุนจากพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่น แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .90 .80 .81 และ .90 ตามลำดับ ส่วนแบบสอบถามความรู้ของมารดาในการดูแล เด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสัน เท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน          ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะแห่งตนของมารดา มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัดอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (r = .377, p < .001) และสามารถ ทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วย โรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 14.2 (β = .377, t = 3.689, p < .001) ความรู้ของมารดาเด็กป่วย การสื่อสารระหว่าง มารดากับพยาบาล และการสนับสนุนจากพยาบาล พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับ การมีส่วนร่วมของมารดา (p > .05) ข้อเสนอแนะจาก ผลการวิจัยพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ ควรส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของมารดา เพื่อให้มารดามีส่วนร่วม ในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมี บำบัดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น           This study aimed to describe factors predicting maternal participation in caring for children with leukemia receiving chemotherapy at pediatric units of tertiary hospitals in the Eastern. Convenience sample included 84 mothers of children with leukemia newborn to 15 years old admitted to receiving chemotherapy. Data were collected during February to April 2018. Research instruments consisted of the demographic data and personal formation, the maternal participation scale, the maternal self- efficacy scale, the maternal-nurse communication and the nurse’s support. Cronbach’s alpha coefficients of the questionnaires were .90, .80, .81, and .90, respectively. Knowledge of maternal in caring for children with leukemia receiving chemotherapy by using KR-20 was .77. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation and Stepwise multiple regression analysis.          Results revealed that maternal self-efficacy of self-efficacy was significantly correlated with maternal participation (r = .377, p < .001) and could predict of maternal participation in caring for children with leukemia receiving chemotherapy accounted for 14.2% (β = .377, t = 3.689, p < .001) Knowledge of maternal, the maternal-nurse communication and the nurse’s support could not predict of maternal participation (p > 05). These findings suggest that pediatric nurse and health care providers should encourage maternal self-efficacy for effectively maternal participation in caring for children cancer.

Downloads