การคัดกรองความความรุนแรงจากคู่ในสตรี: ทัศนะของบุคลากรทีมสุขภาพ

Authors

  • นารีรัตน์ บุญเนตร
  • หทัยชนก เผ่าวิริยะ

Keywords:

การคัดกรอง, ความรุนแรง, สตรี, บุคลากร, ทีมสุขภาพ, วิจัยเชิงคุณภาพ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการคัดกรอง ความรุนแรงจากคู่ในสตรีจากมุมมองของบุคลากรทีมสุขภาพ รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณณา คัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด คือมีความเชี่ยวชาญและ/หรือมีประสบการณ์ในการคัดกรอง ความรุนแรงจากคู่ในสตรี อย่างน้อย 5 ปี จำนวน 10 ราย ในโรงพยาบาลที่มีบริการ “ศูนย์พึ่งได้” ในการช่วยเหลือ สตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงจากคู่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การคัดกรองความความรุนแรง จากคู่ในสตรีในมุมมองของบุคลากรทีมสุขภาพ สรุปได้้เป็น 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) การคัดกรองไม่ครอบคลุม 2) ขัดต่อความเชื่อ และ 3) ไม่พร้อมเปิดเผยข้อมูล ความรุนแรงจากคู่ จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทีมสุขภาพทุกคนควรได้รับการอบรมและพัฒนา ทักษะการคัดกรองความรุนแรงจากคู่ในสตรี เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และขจัดหรือลดอุปสรรคในการคัดกรอง นำไปสู่การให้การช่วยเหลือสตรี ที่ถูกกระทำความรุนแรงจากคู่ได้อย่างเหมาะสมและ ทันท่วงที           This research aimed to describe screening for intimate partner violence (IPV) in women from health care providers’ perspectives. Design of study was descriptive qualitative research. Participants included 10 health care providers who were expert in and/or had experience in IPV screening at least 5 years, and worked at hospitals providing service of One Stop Crisis Centre (OSCC). They were purposively selected by inclusion criteria. Data were obtained through tape-recoded in-depth interviews and examined using content analysis. Findings indicated that health care providers’perspectives on screening for IPV revealed into three themes 1) incomprehensive screening IPV 2) contrary to beliefs and 3) discomfort to IPV disclosure. The recommendations were health care providers should be adequately trained for screening of IPV to be able to practice in their work and eliminate or reduce barriers to screening IPV. All of this will lead to the timely support of women who have suffered from IPV.

Downloads