ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร
Keywords:
ภาวะโภชนาการเกิน, เด็กก่อนวัยเรียน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือ มารดาและเด็กก่อนวัยเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของกรุงเทพมหานคร จำนวน 445 คู่ และครูประจำชั้น จำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมของเด็ก ความรู้และพฤติกรรมของมารดา สิ่งแวดล้อมที่บ้าน สิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็ก และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า ภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11.9 ปัจจัยที่มีสามารถทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การบริโภคอาหารของเด็ก (OR = 10.27, 95%CI = 3.60 - 29.32) การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็ก (OR = 4.30, 95%CI = 1.63 - 11.34) ความรู้ของมารดา (OR = 3.19, 95%CI = 1.16 - 8.80) การจัดอาหารของมารดา (OR = 5.63, 95%CI = 2.19 - 14.52) อาหารที่จัดเก็บในบ้าน (OR = 9.57, 95%CI = 3.06 - 29.90) พื้นที่ทำกิจกรรมที่บ้าน (OR = 6.28, 95%CI = 2.45 - 16.06) และการจัดอาหารของศูนย์ฯ (OR = 0.21, 95%CI = 0.05 - 0.91) มีอำนาจการทำนายร้อยละ 93 ผลการวิจัยนี้ ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนและในชุมชนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพและป้องกันภาวะโภชนาการเกินให้แก่เด็กก่อนวัยเรียนโดยเน้นให้มีการปฏิบัติแบบพหุระดับ This study aimed to determine the associative and predictive factors of overweight among preschool children. A multi-stage random sampling technique was used to recruit a sample of 445 pairs of mothers and preschoolers receiving services at the child development centers, Bangkok, and 7 teachers. Research instruments included self-report questionnaires consisting of the child’s behaviors, the mother’s knowledge and behaviors, the home environment, the child development center’s environment, and a demographic data record form. Descriptive statistics and binary logistic regression analysis were performed to analyze the data. The result revealed that 19.91% of preschool children in child development center in Bangkok were overweight. Factors significantly predicting overweight among the preschool children were child’s food consumption behavior (OR = 10.27, 95% CI = 3.60-29.32), child’s physical activity (OR = 4.30; 95%CI,1.63-11.34), maternal nutritional knowledge (OR = 3.19; 95% CI, 1.16-8.80), mother’s preparing food (OR = 5.63, 95%CI = 2.19-14.52), food stored at home (OR = 9.57, 95% CI = 3.06-29.90), home activities area (OR = 6.28, 95% CI = 2.45-16.06) and child care nutrition food (OR = 0.21, 95% CI = 0.05-0.91). These all predictors were together accounted for 93% of variance in overweight among the preschool children. These findings suggested that nurses or other health care providers who are responsible for child development centers and community could integrate the findings to involve a guideline for health promotion and behavioral modification for overweight prevention among preschoolers.Downloads
Issue
Section
Articles