ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลเด็กวัยเรียนโรคลมชักโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อต่อความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความคาดหวังในผลลัพธ์

Authors

  • ปุณญิศาฐ์ จรินทร์ธนันต์
  • ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล
  • อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์

Keywords:

ผู้ดูแลเด็ก, โรคลมชัก, โปรแกรมส่งเสริมความสามารถ, การรับรู้, ความสามารถของตนเอง, ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลเด็กวัยเรียนโรคลมชักโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก ประกอบด้วยผู้ดูแลเด็กโรคลมชักอายุ 6-12 ปี ที่พาเด็กมารับการรักษาที่หน่วยตรวจผู้ป่วยเด็กนอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดชลบุรี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ จำนวน 47 คน และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลเด็กโรคลมชักร่วมกับการดูแลตามปกติ จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบวัดความคาดหวังต่อผลลัพท์ของการรักษา และการจัดการอาการชัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา การทดสอบแมนวิทนีย์ ยู และวิลคอกซัน          ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง กลุ่มทดลอง มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังต่อผลลัพท์ของการรักษา และความคาดหวังต่อผลลัพท์การจัดการอาการชัก มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -6.482, p<.05, Z = -3.847, p<.05, Z = -2.656, p<.05, Z = -2.549, p<.05 ตามลำดับ) ดังนั้นพยาบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลเด็กโรคลมชักไปใช้ เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก เพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง และมีความคาดหวังในผลลัพธ์ที่เหมาะสมในการดูแลเด็ก อันจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการดูแลเด็กที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป           This quasi-experimental research aimed to examine the effects of the ability promoting program for caregivers of school-age children with epilepsy using computer assisted instruction. A convenience sampling with inclusion criteria was used to recruited caregivers of children with epilepsy aged 6-12 years, who attended at the pediatric outpatient department of tertiary care hospitals in Chon Buri province. There were 47 caregivers in the control group receiving regular cares, while there were 48 caregivers in the experimental group receiving the ability promoting program and regular cares. Research instruments included a demographic record form, the knowledge about epilepsy questionnaire, the epilepsy self-efficacy’s scale, and the outcome expectancy’s scale. Data were analyzed by using descriptive statistics, Mann-Whitney U, and Wilcoxon signed ranks tests.          The results revealed that after completion of the intervention, the experimental group had significantly higher scores of knowledge about epilepsy, perceived epilepsy self-efficacy, outcome expectancy related to the treatment, and outcome expectancy related to epilepsy management than those in the control group (Z = -6.482, p<.05, Z = -3.847, p<.05, Z = -2.656, p<.05, Z = -2.549, p<.05, respectively). These findings suggest that the ability promoting program for caregivers of children with epilepsy can enhance knowledge, perceived self-efficacy, and outcome of care in children with epilepsy, leading to appropriate health care behaviors of children with epilepsy.

Downloads