ผลของรูปแบบผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดแผลผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

Authors

  • ศศินาภรณ์ โลหิตไทย
  • บุญยิ่ง ทองคุปต์

Keywords:

ผ้ารัดหน้าท้อง, การประคบเย็น, ระดับความปวด, ความพึงพอใจ, มารดา, หลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดแผลผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และความพึงพอใจของมารดาต่อการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็น กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 25 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างได้รับผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นหลังผ่าตัดคลอดครบ 8 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความปวด และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ          ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความปวดในระยะก่อน ระยะหลังใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นทันที และระยะหลังใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นในชั่วโมงที่ 4, 8, 12 และ 16 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และในระยะหลังใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็น กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความปวดแผลผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลสามารถนำผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นไปประยุกต์ใช้ควบคู่กับการใช้ยาตามแผนการรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบรรเทาปวดได้           This one-group pretest-posttest quasi-experimental research aimed to examine the effectiveness of cold compress belly band on cesarean incision pain level and satisfaction toward the use of cold compress belly band among mothers in the post-operative period of cesarean section. A simple random sampling technique was used to recruit 25 post-cesarean section delivered mothers, postpartum unit, Naradhiwasrajanagarindra hospital. The sample received cold compress belly band after 8 hours of post-cesarean section. A demographic record form, a numeric pain rating scale, and questionnaire mothers’ satisfaction toward the use of cold compress belly band were administered. Data were analyzed by using descriptive statistics and repeated measure one-way ANOVA.          The result showed that mean scores of pain were significantly different between pre-intervention, post-intervention, and at 4, 8, 12 and 16 hours after using cold compress belly band (p<.001). Also mean scores of pain reduced significantly at different time-points. Mothers reported high satisfaction towards using cold compress belly band. The findings suggest that nurse can apply cold compress belly band along with routine pain medication to increase effectiveness of pain management for post cesarean section delivered mothers.

Downloads