ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Authors

  • ชนัดดา ระดาฤทธิ์
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
  • สุพิศ ศิริอรุณรัตน์

Keywords:

การจัดการตนเอง, ภาวะเบาหวาน, ขณะตั้งครรภ์, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การสนับสนุนทางสังคม

Abstract

          การศึกษาแบบบรรยายและทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการตนเองและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 176 ราย คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ คือ สตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนเมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการจัดการตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .96 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน          ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการจัดการตนเองอยู่ในระดับสูง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นปัจจัยทำนายที่ดีที่สุดและมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .63) และรองลงมาคือการสนับสนุนทางสังคม (β = .27) ปัจจัยทั้งสองทำนายการจัดการตนเองของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 66.7 ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลและผดุงครรภ์ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะตนเองและการสนับสนุนทางสังคมในสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์เหล่านั้นสามารถจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ           This descriptive predictive study aimed to examine self-management and factors effecting self-management of women with gestational diabetes. A systematic random sampling was used to recruit a sample of 176 pregnant women with diabetes visiting antepartum care unit in a tertiary health care center. Data were carried out from April to June 2018. Research instruments included a demographic record form, the self-efficacy questionnaire, the social support questionnaire, and the self-management questionnaire. The reliabilities were .88, .96, and .78, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Stepwise multiple regression analysis.          The results revealed that the mean scores of self-efficacy, social support and self-management were at a high level. Self-efficacy was the best and significant predictor (β = .63), and following by social support (β = .27). These two predictors were significantly predicted self-management of women with gestational diabetes accounted for 66.7% of variance. These findings suggest that nurses and midwives, who are responsible for health of pregnant women, could utilize to develop activities or an intervention program to promote perception of self-efficacy and social support in women with gestational diabetes. Consequently, those women would have appropriate and effective self-management.

Downloads