ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์
Keywords:
คุณภาพการนอนหลับ, หญิงตั้งครรภ์, อาการทางกาย, ขณะตั้งครรภ์Abstract
การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ อายุครรภ์และความรุนแรงของอาการไม่สุขสบายทางกาย กับคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คือหญิงตั้งครรภ์ปกติในระยะไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม จำนวน 132 คน ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรุนแรงของอาการไม่สุขสบายทางกายขณะตั้งครรภ์ และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94.7 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ความรุนแรงของอาการไม่สุขสบายทางกายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพการนอนหลับ (r = .533, p < .01) อายุ และอายุครรภ์ไม่พบมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอน ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลหน่วยรับฝากครรภ์ควรประเมินและให้การพยาบาลเพื่อลดความรุนแรงของอาการไม่สุขสบายทางกายของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะระยะไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ The objective of this correlational research was to examine the relationships between maternal age, gestational age, severity of physical discomfort, and the quality of sleep in pregnant women. A simple random sampling was used to recruit a sample of 132 women with normal and in the second and third trimesters of their pregnancy, who received antenatal care at Chaophraya Abhaibhubejhr hospital, Prachinburi province. Data were carried out from February to April 2018. Research instruments included a demographic questionnaire, the severity of physical discomfort during pregnancy questionnaire, and the Pittsburgh Sleep Quality Index (Thai version). Their reliabilities were .85 and .81, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficients. The results revealed that 94.7% of the total sample had poor sleep quality. Severity of physical discomfort was significantly related to sleep quality (r = .533, p <.01). However, maternal age and gestational age were found no relationship with the sleep quality. These findings suggest that nurses involving in antenatal care should assess and provide a nursing intervention to relief severity of physical discomfort in order to enhance sleep quality in pregnant women especially during their second and third trimesters.Downloads
Issue
Section
Articles