ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย และระดับโคลีนเอสเตอเรสในซีรั่มของเกษตรกร ตำบลเขาพระบาท จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • รัชฎาภรณ์ จันทสุวรรณ์
  • อุไร จเรประพาฬ

Keywords:

ความรู้, พฤติกรรม, การปฏิบัติตน, การป้องกัน, สารเคมี, เข้าสู่ร่างกาย, ระดับโคลีนเอสเตอเรส ในซีรั่ม, เกษตรกร

Abstract

          การศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้  พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย และระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรั่มของเกษตรกรในตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบบังเอิญ  จาก 9 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 411 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันสารเคมี เข้าสู่ร่างกาย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีอยู่ในระดับปานกลางและมาก ร้อยละ 55.00 และ 42.80 ตามลำดับ ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรั่ม (p>.05)  พฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับมากและปานกลาง ร้อยละ 89.80 และ 10.2 ตามลำดับ กลุ่มที่มีพฤติกรรมการป้องกันอยู่ในระดับมาก มีระดับโคลีนเอสเตอเรสในซีรั่มอยู่ในระดับปกติ/ ปลอดภัยมากกว่ากลุ่มที่อยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย และพฤติกรรมการป้องกันมีความสัมพันธ์กับระดับโคลีนเอสเตอเรสในซีรั่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 3.88, p<.05) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในชุมชน ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ           This cross-sectional analytical study aimed to examine relationships between knowledge, self-management behavior for pesticide protection into the body, and serum cholinesterase level among agriculturists in Khao Pra Bath sub-district, Chian Yai district, Nakhon Si Thammarat province. An accidental sampling technique was used to recruit 411 participants from 9 villages in 2017. Research instruments included a demographic questionnaire, the knowledge about pesticide use questionnaire, and self-management behavior for pesticide protection questionnaire. Their reliabilities were .98 and .72, respectively. Data were analyzed by using percentage, mean, standard variation and Chi-square test.          The results revealed that the participants had knowledge about pesticide use at moderate and high levels (55%, and 42.80%, respectively). The knowledge was not correlated with serum cholinesterase level (p>.05). Protective behavior from pesticide risk was at high and moderate levels (89.80%, and 10.2%, respectively). The participants, who had high level of protective behaviors, had a normal/safely level of serum cholinesterase more than those who had risk/unsafely level of serum cholinesterase. Self-management behavior for pesticide protection was found significantly associated with serum cholinesterase level (X2 = 3.88, p<.05). These findings suggest that professional nurses who practice in communities should promote appropriate self-management behavior for pesticide protection into the body effectively.

Downloads