ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน: การทดสอบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

Authors

  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
  • นุจรี ไชยมงคล
  • ปาจรา โพธิหัง

Keywords:

ความสามารถ, การยืนหยัดเผชิญวิกฤต, การสนับสนุนทางสังคม, การมองโลกในแง่ดี, ความผาสุก, ความพึงพอใจในชีวิต, ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง, ชุมชน

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ผู้ที่มีอายุ 60  ปีขึ้นไปที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 400 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง พักอาศัยอยู่ในชุมชนใน จังหวัดระยอง และจันทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ การรับรู้ความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความผาสุก  ความพึงพอใจในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94, .80, .94, .77, .77, .84, .93 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการ วิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง         ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตอยู่ในระดับสูง (M =  116.49, SD = 17.17) และโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุสามารถอธิบายความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน ได้ร้อยละ 32 (X2 = 196.75, df = 92, p = .00, GFI = .95, CFI = .98, RMSEA = .053, R2 = .32) ความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนได้รับอิทธิพลโดยตรงทางบวกจากการสนับสนุนทางสังคม (β = .23) การมองโลกในแง่ดี (β = .18) ความผาสุก (β = .18) และความพึงพอใจในชีวิต (β = .17) พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื่อรังในชุมชนมีความสามารถในการยืนหยัด เผชิญวิกฤต  โดยเน้นการสนับสนุนทางสังคม การมองโลกในแง่ดี ความผาสุก และความพึงพอใจในชีวิต          This research aimed to determine factors influencing resilience among community-dwelling older adults with chronic illness. A multi-stage random sampling was used to recruit a sample of 400 older adults aged 60 years or older with chronic illness. They were both males and females living in communities of Rayong and Chantaburi provinces. Research instruments included a demographic questionnaire, and questionnaires about health status, perceived stress, perceived self-efficacy, optimism, well-being, life satisfaction, social   support, and resilience. Their Cronbach’s alpha reliabilities were .94, .80, .94, .77, .77, .84, .93, and .97, respectively. Descriptive statistics and structural equation modeling were used to analyze the data.         The results revealed that resilience among the sample was at a high level (M = 116.49, SD = 17.17). The model accounted for 32.0 % of variance in explanation for resilience (X2 = 196.75, df = 92, p = .00, GFI = .95, CFI = .98, RMSEA = .053, R2 = .32). Resilience had positive and direct effect on social support (β = .23), optimism (β = .18), well-being (β = .18), and life satisfaction (β = .17). Nurses and other health care providers should utilize these findings to develop an intervention or a program to promote resilience among community-dwelling older adults with chronic illness by emphasizing on social support, optimism, well-being, and life satisfaction.

Downloads