ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนในชุมชน เขตอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

Authors

  • ภคภัทร พิชิตกุลธรรม
  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
  • พรนภา หอมสินธุ์

Keywords:

ความพร้อม, ด้านสุขภาพ, ทัศนคติ, ผู้สูงอายุ, การรับรู้, การสนับสนุนทางสังคม, ภาวะสุขภาพ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ ประชาชนในชุมชนเขตอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูล ส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ทัศนคติต่อการสูงอายุ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน          ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (M = 3.78, SD = .39) และปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ การมีผู้สูงอายุในครอบครัว (β = .474) ทัศนคติต่อการสูงอายุ (β = .188) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = .268) การสนับสนุนทางสังคม (β = .129) และภาวะสุขภาพ (β = .110) โดยสามารถร่วมทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้ร้อยละ 64.1 (R2 = .641, p < .001) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา กิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเน้นเรื่องทัศนคติต่อการสูงอายุ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุน ทางสังคม และภาวะสุขภาพ           This study aimed to examine factors predicting health preparation for aging society among community-dwelling people. A simple random sampling technique was used to recruit 147 people who lived in communities of Wangchan district, Rayong province. Research instruments included self-report questionnaires of a demographic, the health status, the attitude towards aging, the perceived self-efficacy, the social support, and the health preparation for aging society. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze the data.          The results revealed that health preparation for aging society among community-dwelling people was at a good level (M = 3.78, SD = .39). The significant predictors of health preparation for aging society among community-dwelling people were having elderly people in the family (β = .474), attitude towards aging (β = .188), perceived self-efficacy (β = .268), social support (β = .129), and health status (β = .110). These predictors explained 64.1 % of variance in health preparation for aging society among community-dwelling people (R2 = .641, p<.001). These findings suggest that nurses and related health care providers should utilize the findings to develop an intervention or program to promote health preparation for aging society among community-dwelling people by focusing on attitude towards aging, perceived self-efficacy, social support, and health status.

Downloads